วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงกลางเดือนสิงหาคม 2565 ประเทศไทยในหลายๆ พื้นที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วม  https://www.matichonweekly.com/column/article_595149? อันเกิดจากร่องมรสุมที่เลื่อนลงมาอยู่ในเขตประเทศไทย  https://www.youtube.com/watch?v=65xRzEP1_Hk  ประชาชนหลายล้านคนมีความเครียดจากการกดดันของมวลน้ำที่เข้ารุกรานวิถีชีวิตที่คุ้นชิน  จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น https://www.youtube.com/watch?v=E2aq2BFmmUI บริษัท ปภ.จำกัดได้เวลาเปิดกรุผลิตภัณฑ์คุณตัวออกเร่ให้บริการ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลยุทธ์การขยายตัว ที่มุ่งสร้างความพร้อมภายในจากสถิติความหายนะจากสาธารณภัย  เด็กเสริฟในสำนักงานในแต่ละจังหวัดเร่งเสริฟยอดความเสียหาย (บางสมัยนับปลาในบ่อได้ออกมาเป็นกี่ตัวกี่ตัวกันเลย)

แล้วไม่ดีหราค่ะ มีปัญหาอะไรค่ะที่นางฟ้าจะออกโรงรับแขก

ดูเผินๆ อาจจะดูดี สมค่าราคาค่าจ้างจากภาษีอากรของประชาชนคนไทย  แต่หากใช้กลยุทธ์การขยายตัวแบบกระจุกตัว (Intensive Growth Strategy) หรือใช้กลยุทธ์การขยายตัวแบบกระจายตัว (Diversification Growth Strategy)ก็จะเป็นความสมเหตุสมผล  แต่ ส.ด.รัฐราชการปรสิตจึงขมักเขม้นกับการใช้กลยุทธ์การขยายตัวแบบรวมตัว (Integrative Growth Strategy) ทำไมหรือ ก็เหตุผลเดียวคือกลยุทธ์แบบนี้มีแดกแบบสดวกสบาย

ลักษณะของการใช้กลยุทธ์การขยายตัวแบบรวมตัว (Integrative Growth Strategy)

แล้วจะประชาชนจะอยู่ในสถานะอย่างไร ภายใต้กลยุทธ์ของบริษัท ปภ.จำกัด

ก็เหมือนกับกรณีภาพใหญ่ หรือภาพรวมของประเทศ (ประชาชนต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูเมียน้อย เลี้ยงดูลูกๆ หลานๆ ของเหล่าปรสิตที่ได้ยัดกันไว้ตามหน่วยงานต่างๆ  โดยที่ลูกหลานประชาชนคนธรรมดาไม่มีสิทธิหรือถูกตัดโอกาส และกรณีปรสิตนักเลงคุมประเทศที่ต้องสร้างผลิตภัณฑ์อาวุธยุทธภัณฑ์เอาไว้โชว์ตอนงานวันเด็ก) ประชาชนก็หลังแอ่นมากขึ้นกับภาระ นอกจากจะต้องสู้กับสาธารณภัยนานาประการยังต้องแบกต้องอุ้มปรสิตเอาไว้ในการเดินฝ่าสาธารณภัย