การป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยในปัจจุบันเน้นหนักในมิติทางสังคมวัฒนธรรม ภายใต้การชี้นำของบริษัท ปภ.จำกัด ด้วยกรอบทิศทางตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2558 อันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ลับของรัฐราชการปรสิต ที่มุ่งมองด้วยทัศนะและท่าทีที่มีนัยของการตัดสินคุณค่าของสังคมโดยใช้ตัวแบบการปกครองแบบพ่อขุนรู้ดีแต่เสียดสีผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
กรอบทิศทางดังกล่าว นำมาขยายเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีการต่อรองความหมายกับสังคม ว่าเป็นความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งยวดของพวกเขา ซึ่งก็นับว่ารัฐราชการปรสิตต่อรองความหมายชนะคนไทย เพราะคนไทยไม่ได้ติดใจกับการให้ความหมายของพวดเขา รายละเอียดที่เขาใช้ต่อรองกับสังคมไทย มีดังนี้
-
- แนวทางปฏิบัติก่อนเกิดสาธารณภัย เขียนไว้ละเอียดยิบ ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงภัย การจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย แยกตามประเภทภัย พิมพ์เขียวในการเตรียมการด้านโครงสร้างการป้องกันสาธารณภัย การปรับปรุงสภาพพื้นที่่ทั้งการอนุรักษ์ฟื้นฟู และการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ แต่แนวทางปฏิบัติเหล่านั้นไม่มีกลไกควบคุมตรวจสอบ ทำให้เมื่อมีสาธารณภัยเกิดขึ้นก็ไม่มีใครทวงถามการเตรียมการก่อนเกิดภัย ทำให้แนวปฏิบัติที่เขียนไว่้เหล่านั้นเป็นเพียงเพื่อความชอบธรรมในการรับเงินเดือนค่าจ้าง แต่ที่ทำได้ดีที่สุดก็คือการเตรียมเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (เป็นการละเลยแนวคิดการบูรณาการ)
- แนวทางปฏิบัติในการจัดการเมื่อเกิดสาธารณภัย มุ่งเน้นอธิบายละเอียดยิบถึงวิธีการที่เจ้าขุนผู้นำเอาเงินภาษีมาใช้ในการให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยความเมตตายิ่ง
(1) ในเขตจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดำเนินการดังนี้
(1.1) เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยพิบัติขึ้นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการท้องถิ่นขององกรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้น เข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว และให้แจ้งผู้อำนวยการอำเภอที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ และผู้อำนวยการจังหวัดทราบ
(1.2) กรณีที่พื้นที่ที่เกิดหรือจะเกิดภัยพิบัติอยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการท้องถิ่นหลายคน ผู้อำนวยการท้องถิ่นคนหนึ่งคนใดจะใช้อำนาจหรือปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนก็ได้ แล้วให้แจ้งผู้อำนวยการท้องถิ่นอื่นทราบโดยเร็ว และกรณีผู้อำนวยการท้องถิ่นมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐที่อยู่นอกเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ของตน ให้แจ้งให้ผู้อำนวยการอำเภอหรือผู้อำนวยการจังหวัดแล้วแต่กรณี เพื่อสั่งการโดยเร็วต่อไป
(1.3) ผู้อำนวยการในเขตพื้นที่ที่ติดต่อหรือใกล้เคียง มีหน้าที่สนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่ผู้อำนวยการซึ่งรับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียงนั้น
(1.4) เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น เจ้าพนักงานที่ประสบเหตุมีหน้าที่ต้องเข้าดำเนินการเบื้องต้น เพื่อระงับภัยนั้น แล้วรีบรายงานให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นเพื่อสั่งการต่อไป และในกรณีจำเป็น เจ้าพนักงานมีอำนาจดำเนินการใดเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองชีวิตหรือป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่บุคคลได้
(1.5)กรณีเจ้าพนักงานจำเป็นต้องเข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดภัยพิบัติเพื่อทำการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่แล้ว เว้นแต่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่ในเวลานั้น หรือเมื่อมีผู้อำนวยการอยู่ด้วย และหากทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสาธารณภัยได้ง่าย ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองขนย้ายทรัพย์สินนั้นออกจากอาคารหรือสถานที่ดังกล่าวได้ หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานมีอำนาจขนย้ายทรัพย์สินนั้นได้ตามความจำเป็น โดยเจ้าพนักงานไม่ต้องรับผิดชอบบรรดาความเสียหายอันเกิด
จากการกระทำดังกล่าว
(1.6) ให้ผู้อำนวยการในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นและทำบัญชีรายชื่อ ผู้ประสบภัยและทรัพย์สินที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองให้ผู้ประสบภัยไว้เป็นหลักฐานในการรับการสงเคราะห์และฟื้นฟู
(1.7) ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการ ผู้อำนวยการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมตลอดทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน โดยมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ผู้อำนวยการกลางและผู้อำนวยการในเขตพื้นที่ - แนวทางปฏิบัติในการจัดตั้งองค์กรปฏิบัติในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต (1) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่จัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้น จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติพร้อมทั้งประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการสาธารณภัยทุกขั้นตอน หากในกรณีไม่สามารถควบคุมสถานการณ์สาธารณภัยตามความสามารถโดยลำพัง ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียงและหรือกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ โดยมีผู้อำนวยการท้องถิ่น เป็นผู้ควบคุม สั่งการ
- (2) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอเพื่อทำหน้าที่ในการจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ รวมทั้ง เป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรในการจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้น อำนวยการประสานการปฏิบัติ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การสาธารณกุศลในการควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างมีเอกภาพ รวดเร็ว ทั่วถึง โดยมีผู้อำนวยการอำเภอ เป็นผู้ควบคุม สั่งการ
(3) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัด จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการรับการสนับสนุนทรัยยากรในการจัดการสาธารณภัยของจังหวัด จากส่วนราชการ หน่วยงาน เพื่อสนับสนุนแก่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ อำนวยการ ประสานการเผชิญเหตุระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรสาธารณกุศล โดยมีผู้อำนวยการจังหวัดเป็นผู้ควบคุม สั่งการและบัญชาการเหตุการณ์
(4) ศูนย์บัญชาการณ์เหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัดให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด แปรสภาพเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัดของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เมื่อมีการยกระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นระดับ 3-4 มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามการบัญชาการเหตุการณ์จากกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พร้อมทั้งรับผิดชอบอ านวยการ ควบคุม ปฏิบัติงาน และประสานการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด และเป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพกำลังและอำนวยการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร