วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เมื่อนายกคนดีของผีในศาลเจ้าประจำศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ลงตรวจพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสาน ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2565 ได้มอบนโยบาย “ด้อยค่าประชาชน” กรณีถ้าระบบสื่อสารล่มขอให้ดำเนินการแจ้งเตือนและสื่อสารกับประชาชนด้วยวิทยุทรานซิสเตอร์ https://www.dailynews.co.th/news/1542726/  เล่นเอาผู้อยู่ในแวดวงวิทยุชุมชนต่างดาหน้ากันออกมาชื่นชม หวังที่จะฟื้นตัวจากการร่วมกันงาบกับเจ้าหน้าที่รัฐราชการปรสิต  https://www.naewna.com/politic/684448 อย่างเช่น บริษัท ปภ.จำกัด ก็ออกแผนงานโครงการจัดซื้อจัดจ้างวิทยุทรานซิสเตอร์หลายหมื่นเครื่องทันที สำหรับแจกให้ตั้งประจำศูนย์อพยพ/ ประจำชุมชน CBDRM

วิทยุทรานซิสเตอร์แจ้งเตือนภัยได้หรือ

คำตอบ คือ ได้แน่นอน https://thethaiger.com/th/news/676622/ แต่ยุคที่นายกทรานซิสเตอร์ก่อหวอดเข้ามาปล้นอำนาจและนั่งนายก ประชาชนเกือบจะร้อยละ 99 เขาไม่นิยมใช้วิทยุทรานซิสเตอร์กันแล้ว  การฟังเพลงเหมือนในสมัยก่อนแทบจะไม่นิยม (ยกเว้นสลิ่มที่ยังเฝ้าหน้าจอของ TOP NEWS เกือบตลอด 24 ชั่วโมง) ส่วนใหญ่ฟังเพลงจากโทรศัพท์มือถือกัน https://news.ch7.com/detail/598390  เพราะฉะนั้น กรณีที่ระบบสื่อสารล่มแล้วให้ประชาชนแห่กันไปเอาวิทยุทรานซิสเตอร์มารับสารจากรัฐราชการปรสิตนั้น คล้ายจะดูเป็นเรื่องหลงยุคหลงสมัย

วิทยุสื่อสารดีกว่าวิทยุทรานซิสเตอร์  โดยวิทยุสื่อสารมีจุดเด่นที่ดีกว่า ดังนี้

1.สื่อสารได้ 2 ทาง ผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นคนๆ เดียวกันได้  แต่ก็จะขัดกับจริตของเจ้าหน้าที่รัฐราชการปรสิตที่มีทัศนคติว่าจะต้องให้มีการสื่อสารแบบเผด็จการ โดยฟังคำสั่งจากเจ้านายลงมาเป็นทอดๆ และตนต้องรายงานสถานการณ์ขึ้นไปเป็นทอดๆ   ยิ่งให้ประชาชนมีการสื่อสารในระบบได้ก็จะสับสนวุ่นวายตายห่า (ด้อยค่าประชาชนตามพ่อมัน) https://fb.watch/f_FS7_Dc3u/

2.ราคาพอๆ กัน  (ร้อยละ 20 งาบ  และร้อยละ  20 ค่าจัดส่งจัดหาในช่วงภัยพิบัติ   ราคาก็จะแ พงขึ้นร้อยละ 40  เช่น  มาม่าซองละ 5 บาท ก็จะต้องซื้อ 7 บาท  หรือ ราคาเดิม 10 บาท ก็จะต้องซื้อ 14 บาท)

3.สื่อสารเฉพาะกิจที่จำเป็นหรือแก้ไขปัญหาในเหตุการณ์ได้  ส่งต่อกันเป็นทอดๆ รับข้อมูลเป็นทอดๆ ได้รวดเร็ว และได้ตามกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่ขณะนั้น  ไม่ได้นั่งอยู่ในห้องส่งเป็นส่วนใหญ่  https://fb.watch/f_FOiQ6RRs/