วัฒนธรรมอำนาจนิยมในสถานการณ์ภัยพิบัติมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ และขึ้นอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรมของพื้นที่นั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว วัฒนธรรมอำนาจนิยมในสถานการณ์ภัยพิบัติมีลักษณะ ดังนี้
- ความเชื่อทางศาสนา – ในบางพื้นที่ มีความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติ เช่น การใช้พิมพ์พระเนตร การอธิษฐานมนต์พระอภิธรรมป้องกันภัยพิบัติ เป็นต้น
- การใช้วิชาการและเทคโนโลยี – ในบางพื้นที่ การใช้วิชาการและเทคโนโลยีเพื่อจัดการกับสถานการณ์ภัยพิบัติมีการยอมรับอย่างแพร่หลาย เช่น การใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ การใช้เครื่องมือช่วยชีวิต เป็นต้น
- การใช้เพลงและการเต้นรำ – บางพื้นที่มีการใช้เพลงและการเต้นรำเพื่อรวมพลังในการจัดการกับสถานการณ์ภัยพิบัติ เช่น การร้องเพลงพื้นเมือง การเต้นรำและการแสดงดนตรีเพื่อเพิ่มกำลังใจและสร้างความสุขในกลุ่มผู้ประสบภัย
- การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น – บางพื้นที่มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การใช้วัฒนธรรมราชการในการแก้ไขปัญหา
จากกรณีน้ำท่วมพื้นที่ภาคอีสานช่วงต้นเดือนกันยายน 2565 รัฐราชการ(ตัวแทนในจังหวัดปลายน้ำของแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี) ได้แถลงข่าวว่าได้เตรียมการรับมือมาแล้วกว่า 3 เดือน (ด้วยการประชุมแล้วประชุมอีกกว่า 15 ครั้ง มีคำพูดของหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ในรายงานการประชุมกว่า 1680 หน้า) https://news.ch7.com/deta…
-
- 1. ลักษณะรูปแบบดังกล่าวข้างต้น เป็นภาพสะท้อนถึงซากเดนของทรรศนะอำนาจนิยม ที่ต้องส่งต่อสิ่งที่จะเป็นที่พออกพอใจของผู้ที่มีอำนาจเหนือขึ้นไปเป็นทอดๆ (เราปล่อยให้พวกเข้ามารับเงินเดือนจากภาษี สถาปนา/สืบทอดการทำงานที่ยึดถือตัวผู้นำยังยึดถือมูลนาย)
- 2. ลักษณะรูปแบบดังกล่าวข้างต้น เป็นภาพสะท้อนถึงการแข็งข้อกับประชาธิปไตยของรัฐราชการ ระบบราชการจะต้องดูแลประเทศแทนตัวแทนของประชาชน ข้าราชการอื่นๆ ก็จะเดินตามทหารที่ดำเนินการด้านการกุมอำนาจ ที่พวกเขาจะควบคุมระบบดูแลประชาชนทั้งหมด พวกเขาจะส่งตัวแทนของเขาไปควบคุมให้หมด อย่างเช่น ส.ว. ในรัฐธรรมนูญของเรา องค์กรอิสระ การเลือกตั้ง ความเสมอภาค ความยุติธรรม ไม่สนใจทั้งสิ้น เพราะว่านั่นเป็นเรื่องของประเทศที่เจริญแล้ว เขาจะแต่งตั้งคนของเขาเข้าไปดูแลเท่านั้น
- 3. ลักษณะรูปแบบดังกล่าวข้างต้น เป็นภาพสะท้อนถึงระบบอุปถัมภ์ที่เป็นรูปธรรมจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน ที่ความดีความชอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือของระบบราชการอยู่นอกเหนือจากผลประโยชน์ของประชาชน