สาเหตุการเกิดอุบัติภัย มีวิวัฒนาการควบคู่กันกับวิวัฒนาการของสังคม ในประเทศที่มีขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิต
การประดิษฐ์ (ประเทศพัฒนา) สูง อุบัติภัยมีปริมาณและความรุนแรงเพิ่มขึ้นไปด้วย แต่เนื่องจากในขณะเดียวกันประเทศเหล่านี้ก็มีขีดความสามารถในการเฝ้าระวังสูงด้วยเช่นกัน จึงสามารถลดความรุนแรงและความ สูญเสียลงได้ โดยมีแนวคิดว่า อุบัติภัยเป็นสิ่งที่คาดคะเนแนวโน้มการเกิดและสามารถป้องกันได้
มาตรการที่ประเทศพัฒนาใช้ ประกอบด้วย
1 การกระตุ้นให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมจากการ “เสี่ยง” มาเป็น “ความปลอดภัย”
2 ใช้การบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคล
3. ใช้มาตรการ 3 E (Education Enforcement Engineering)
4. มีการจัดตั้งองค์กรการดำเนินงานอย่างมีเอกภาพ (องค์กรระดับชาติ ระดับ พื้นที่ และระดับท้องถิ่น) มีการกำหนดหน้าที่ที่ชัดเจนและบริหารจัดการอย่างครบวงจร ประกอบด้วย นโยบายและมาตรการ ระบบข้อมูล การวางแผนการปฏิบัติการ การประสานงานและการการติดตามผล วิจัยและพัฒนา
สำหรับประเทศไทย การป้องกันและแก้ไขปัญหายังไม่ประสบผลสำเร็จ เท่าที่ควร เนื่องจากสาเหตุที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. คิดว่าเป็นเคราะห์กรรม
2. การดำเนินงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ไม่มีการกำหนดนโยบาย มาตรการแนวทางการป้องกันให้ควบคู่กับการพัฒนา
3. การบริหารจัดการไม่เป็นระบบและไม่ครบวงจร
ข้อเสนอแนะ
1. รัฐบาลจะต้องสนใจปัญหาอุบัติภัยอย่างจริงจังและดำเนินการในเชิงรุก
2.จัดตั้งองค์กรรับผิดชอบ ทั้งหน่วยงาน/องค์กรกลางระดับชาติ และระดับปฏิบัติ
ที่รับผิดชอบอุบัติภัยทุกประเภท อย่างเป็นระบบและครบวงจร
3.ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับอุบัติภัย และจะต้องเน้น การป้องกันเป็นสำคัญมากกว่าการระงับและฟื้นฟู
4.การให้ความรู้ ความเข้าใจ และการสร้างวินัย จะต้องเริ่มตั้งแต่เยาวชน และมีการนำเข้าสู่ระบบการศึกษาทุกระดับชั้นอย่างจริงจัง
5. มีระบบ กลไก และเงื่อนไขให้ผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบงานอุบัติภัยมีแนวคิด วิสัยทัศน์ และเกณฑ์มาตรฐานในการกำกับดูแล สามารถให้สังคมติดตามตรวจสอบการกำหนดนโยบายและการวินิจฉัยสั่งการได้
6. มีการใช้มาตรการทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการด้านวิศวกรรมความปลอดภัย อย่างจริงจัง เข้มงวด เสมอภาคและต่อเนื่อง