พฤติกรรมของประชาชนชาวไทยประสบภัยพิบัติ ส่วนใหญ่จะมีแนวทางของตนเองที่จะตัดสินใจและแสดงออกถึงพฤติกรรมต่างๆ เช่น ตื่นตกใจ ระงับเหตุภัยพิบัติ แจ้งเตือนคนอื่น แจ้งหน่วยงานของรัฐ
การเลือกแนวทางของตนเอง มีรูปแบบเป็นระบบไดนามิกที่โน้มเอียงไปทางประมวลผลจากข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกแนวทางจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะ Quantum computer
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของข้าพเจ้าในปี พ.ศ. 2557 พบว่า การเลือกแนวทางหรือพฤติกรรมของประชาชนชาวไทยเมื่อประสบภัยพิบัติ ขึ้นกับปัจจัย 2 ด้าน คือ
1. ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อแนวทางปฏิบัติ คือการฝึกอบรมและประสบการณ์ ซึ่งจะมีกระบวนการเริ่มต้นจากประสบการณ์ การศึกษาฝึกอบรม (ไม่ใช่การฝึกอบรมที่ไปนั่งฟังภารกิจโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนะครับ ไม่ใช่ไปนั่งฟังความหมายของประเภทภัยพิบัตินะครับ) การตีความ การแสดงออกเป็นพฤติกรรม
2.ปัจจัยรองลงมา คือ รูปแบบการรวมกลุ่มของคนที่ประสบภัยพิบัติ โดยมี 4 รูปแบบ ตามความเข้มแข็งของสังคม ดังนี้
2.1 ถ้าสังคมนั้นมีความเข้มแข็ง เมื่อสังคมประสบภัยพิบัติ คนที่อยู่ในองค์กร/ชุมชน/หมู่บ้าน จพสามารถกำหนดบทบาทของคนในสังคมให้มีบทบาทสำคัญในการจัดการภัยพิบัติ สามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดี หากมีการอพยพแม้ไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าก็ตาม
2.2 ถ้าสังคมเข้มแข็งน้อยลงจากที่สุด เมื่อสังคมเกิดภัยพิบัติ คนในสังคมจะแสดงพฤติกรรมมุ่งมั่นที่จะรักษาเป็นมาตรฐานการปฏิบัติ ไม่ให้ถูกตำหนิหรือถูกต่อว่าจากกลุ่มในสังคม
2.3 ถ้าสังคมมีความเข้มแข็งน้อยลงไปอีกขั้น เมื่อประสบภัยพิบัติ คนในสังคมก็จะตอบสนองออกมาในรูปแบบความร่วมมืออย่างดียิ่ง
2.4.ถ้าสังคมมีความเข้มแข็งน้อยลงไปอีกขั้น เมื่อประสบภัยพิบัติ คนในสังคมจะมีข้อมูลและเทคนิควิธีคิดที่แตกต่างจากกลุ่มหรือสังคม กิจกรรมอันเป็นสาธารณะจะไม่เข้าร่วม
xxxxxxxxxxxxx