การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อยู่รอบตัวของมนุษย์ แต่ทำไมไกลหัวใจมนุษย์นักหนา ฟาดฟันต่อปัจจัยค่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยากที่จะหันกลับกันได้แล้ว เมินเฉยต่อการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไปนี้:
- การเพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชน – การเพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยลดผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้สื่อสารและการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อลดผลกระทบ
- การเตรียมความพร้อมสำหรับสภาพภูมิอากาศต่างๆ – การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดสภาพภูมิอากาศต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การวางแผนการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เตียงนอนและอาหารสำหรับผู้ประสบภัย และการเตรียมเครื่องมือต่างๆ เช่น แฟลชไลท์ และสัญญาณเตือนภัย
ถ้าหากแบ่งยุคการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างกว้างๆ จะสามารถแบ่งได้ 2 ยุคสมัย กล่าวคือ
ยุคแรก เรียกว่า “ยุคก่อตัว”
เป็นยุคที่มนุษย์จะเป็นต้นตอแห่งการก่อกำเหนิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะมีหลักจริยศาสตร์ของคานท์ (Kant) เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงตนเองให้ดำรงตนเป็นตัวกระทำหรือต้นตอกำเหนิดต่อไปได้
ยุคที่สอง เรียกว่า “ยุคสัมพัทธ์นรก”
เป็นยุคแห่งความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างรวดเร็วและไม่อาจจะคาดเดาได้ มีความยุ่งเหยิงเกินที่จะประเมิน/คำนวณ และหากมองหาปัจจัย (เฉพาะตัวมนุษย์) แห่งยุคก่อตัว ที่หล่อเลี้ยงยุคสมัยให้เติบโต และพัฒนาเข้าสู่ยุคสัมพัทธ์นรก ก็จะสามารถแยกมนุษย์ในมุมมองจากปัจจัยแห่งยุคก่อตัว ได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1.มนุษย์ผู้ที่มีศักยภาพสูงในการเรียนรู้ และมนุษย์พวกนี้จะหล่อเลี้ยงยุคสมัยให้พัฒนาได้เพราะดำรงตนให้มีลักษณะ 2 ประการ คือ ไม่ตระหนัก และเมินเฉย
1.1 ไม่ตระหนัก เพราะ
1)มองไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้น
2)ไม่ได้รับผลกระทบ
1.2 เมินเฉย เพราะ
1)ได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด
2)เห็นว่าเป็นปัญหาเล็กๆ ที่สามารถแก้ไขหรือปรับตัวได้
แบบที่ 2. มนุษย์ผู้ขาดโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม ชีวิตและจิตใจยึดเกาะกับหลักประโยชน์นิยม ซึ่งหลักนี้มุ่งมหาสุขแก่มวลมนุษย์ ไม่คำนึงถึงเจตนาเป็นสำคัญ คำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดจากการกระทำสำคัญกว่า