วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ถ้าเราจะต้องอยู่ในอาคาร การระแวดระวังอย่างง่ายเป็นสิ่งจำเป็น  เพราะเราคงไม่มีโอกาสได้สำรวจตรวจตราอุปกรณ์ป้องกันและช่วยเหลือเมื่อเกิดอัคคีภัย เช่น เครื่องดักจับควัน เครื่องดักจับความร้อน อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ อุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน ฯลฯ   เมืองไทยยุคกาขาว กฏหมายที่มีควบคุมให้เกิดความปลอดภัยก็จะถูกเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจตราทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ได้อย่างง่ายดาย

ร้อยละ 90 ของผู้ที่รอดชีวิตจากที่เกิดเหตุอัคคีภัยจะมีวิธีการช่วยเหลือตัวเองให้รอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง

การช่วยตัวเองที่พบ

ความถี่

ม่สับสน

4.5

ไม่กลัวที่จะลุยผ่านควัน/สเก็ตไฟออกไปจากอาคาร

4.0

รู้จักเทคนิคการฝ่าเพลิงเอาตัวรอด เช่น เอาถุงพลาสติกตักอากาศครอบหัว หรือการเอาผ้าชุบน้ำปิดจมูก การหมอบคลานต่ำ

3.4

ปิดอับห้องที่เกิดเพลิงไหม้/ปิดอับไม่ให้ควันเข้าห้อง

3.1

ส่งสัญญาณให้คนอื่นรู้ว่าตนเองติดอยู่บริเวณใด

2.8

แต่ก็ใช่ว่าจะรอดตายได้ทุกคน เมื่อใดก็ตามที่เราเข้าไปอยู่ในอาคารอันตรายที่เกินขีดสมรรถนะของตัวท่านเอง

โดยลักษณะอาคารที่เอาตัวรอดจากอัคคีภัยได้ยาก จะมีลักษณะ ดังนี้

1.อาคารสูงมากว่า ๒ ชั้น

2.อาคารมีทางเข้าออกเพียงจุดเดียว และผนังแข็งแรงไม่สามารถทุบรื้อได้ทันทีทันใด

3.อาคารที่มีเหล็กดัดครอบหน้าต่าง ประตูหลายๆ บานอยู่ในลักษณะปิดตายไม่เคยเปิดใช้สักที

4.อาคารที่บุผนังด้วยวัสดุุตกแต่งที่ติดไฟได้ง่าย หรือผนังที่เมื่อได้รับความร้อนมีควันเยอะ หรือผนังที่เมื่อได้รับความร้อนจะมีไอพิษแก่ร่างกายมนุษย์มากกว่าปกติ