วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในห้วงเดือนเมษายน-ตุลาคม 2565 ได้ดำเนินการศึกษาภารกิจประจำวันรัฐราชการปรสิตในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่จากรัฐราชการส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ  45 คน  รัฐราชการส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 385 คน  ผลการศึกษาปรากฎผล ดังนี้

ตารางแสดงผลการสำรวจกิจกรรมปฏิบัติงานประจำวันในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของส่วนราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น ในรอบ รอบ ๑ เดือน

กิจกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ค่าเฉลี่ย

ส่วนราชการส่วนภูมิภาค

ราชการส่วนท้องถิ่น

1 การค้นหาและตรวจสอบว่ามีพื้นที่ใดที่เสี่ยงต่อการเกิดวิกฤต

1.1

1.4

2 การทำงานเชิงรุกและวางแผนเพื่อเตรียมการ

3.8

2.6

3 การเตรียมความพร้อมทุกประเภททั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยี เจ้าหน้าที่ และแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน

4.8

3.4

4 การเข้าไปช่วยเหลือคนในพื้นที่อย่างฉับไว

1.4

4.2

5 การค้นหาวิธีการป้องกันภัยพิบัติจำเป็นต้องยึดหลักของความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงาน ได้เสมอ

0.8

2.4

6 สนับสนุนงานอีเว้นท์ต่างๆ

2.6

4.8

มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

จากตารางการสำรวจกิจกรรมประจำข้างต้น แสดงให้เห็นว่า

1.รัฐราชการส่วนภูมิภาค

การทำงานประจำวันมุ่งสร้างสมรรถนะขององค์กรที่จะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เท่านั้น

ในขณะภารกิจ/กิจกรรมที่ควรจะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสนออย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดสมรรถนะที่ดีถูกละเลยไม่ว่าจะเป็นการค้นหาและตรวจสอบว่ามีพื้นที่ใดที่เสี่ยงต่อการเกิดวิกฤต  การค้นหาวิธีการป้องกันภัยพิบัติจำเป็นต้องยึดหลักของความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงาน ได้เสมอ

2.รัฐราชการส่วนภูมิภาค

มโนทัศน์ของราชการส่วนภูมิภาคจะมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก

ทั้งนี้ ทั้งราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นก็ยึดการเตรียมความพร้อมทุกประเภททั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยี เจ้าหน้าที่ และแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน ให้ปรากฎเพื่อความชอบธรรม/ความจำเป็นในการคงอยู่ขององค์กรของตนในการปกครองประชาชน สูบกินงบประมาณในการดำเนินการได้สะดวกกว่าการดำเนินการด้านอื่นๆ