มโนทัศน์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของรัฐราชการไทยเน้นการเตรียมความพร้อมในการจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยพิบัติที่เป็นไปได้ในทุกช่วงเวลา รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มความเป็นมาตรฐานและการตอบสนองที่รวดเร็วต่อสถานการณ์ภัยพิบัติ
นอกจากนี้ มโนทัศน์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของรัฐราชการไทยยังเน้นการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ โดยการส่งเสริมการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติกับประชาชนทั้งในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงและในชุมชน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองและช่วยให้ผู้ประสบภัยพิบัติมีการรับมือและเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติในอนาคต
แต่ข้อเท็จจริงในหลายๆ ครั้งเมื่อมีสถานการณ์ภัยพิบัติ รัฐราชการของไทยใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญแบบนักวิชาการเฉพาะด้าน ความรู้ทางเศรษฐกิจ และระบบการปกครองที่นำสู่ระบบอำนาจสั่งการแบบรวมศูนย์ที่เน้นการควบคุมประชาชนให้อยู่ในกฎระเบียบแบบเดียวกันโดยมองข้ามเงื่อนไขที่แตกต่างกันของพื้นที่และบริบทของชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ประกอบกับการละเลยความรู้ทางสังคม ส่งผลให้การดำเนินงานของรัฐผลิตซ้ำความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ทำให้ผู้ด้อยโอกาสเสียประโยชน์จากมาตรการต่างๆ
จากการศึกษามโนทัศน์ของรัฐราชการเปรียบเทียบระหว่างรัฐราชการส่วนภูมิภาคกับรัฐราชการส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2565 พบว่า
มโนทัศน์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
ค่าเฉลี่ย |
||
ราชการส่วนภูมิภาค |
ราชการส่วนท้องถิ่น |
||
1 | เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่งที่เกิดวิกฤตการณ์เท่านั้น |
4.5 |
4.7 |
2 | ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ |
3.3 |
4.2 |
3 | สร้างค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคมให้มีความตระหนักต่อภัยพิบัติ |
4.8 |
2.9 |
4 | การเตรียมพร้อมในระยะยาวที่ต่อเนื่อง |
2.0 |
1.8 |
จากตารางข้างต้น
1.ราชการส่วนภูมิภาค
ภายใต้มโนทัศน์ที่เข้มแข็งในด้านการมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่งที่เกิดวิกฤตการณ์เท่านั้น และการสร้างค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคมให้มีความตระหนักต่อภัยพิบัติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยประชาชนเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการดำเนินงาน ทำให้ประชาชนมีความสนใจต่อการดำเนินงานของรัฐราชการ ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติต่างก็เฝ้ามองดูวิธีการทำงานของรัฐราชการ ซึ่งอาจจะพบการปกปิดข้อมูล การเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายสับไปสับมาอย่างไม่รู้งาน บริหารแบบไม่เป็นมืออาชีพ หรือมีนโยบายที่แอบแฝงผลประโยชน์ การให้ข้อมูลที่ขัดกันของเจ้าหน้าที่และนักวิชาการ การเลือกปฏิบัติและให้สิทธิพิเศษกับกลุ่มคนบางกลุ่มคนบางพื้นที่
2.ราชการส่วนท้องถิ่น
มโนทัศน์ของรัฐราชการส่วนท้องถิ่น ต้องการความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่จึงมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่งที่เกิดวิกฤตการณ์ และให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ เป็นการช่วยเหลือที่ตรงเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีปัญหาการคัดกรองคนที่ไม่ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้