แผนที่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (แผนที่ผังเมือง/แผนที่ชลประทาน/แผนที่เกษตรกรรม /แผนที่ปั๊มน้ำมัน/แผนที่โรงงานอุตสาหกรรมฯลฯ) และแผนที่พื้นที่ทางสังคม (แผนที่เลือกตั้ง/แผนที่ภาษี/ แผนที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ฯลฯ) จะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้ออกมาเป็น “แผนที่ภัยพิบัติ” เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่านำไปใช้เพื่อเข้าใจ/บริหารพื้นที่ให้เกิดความปลอดภัย ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่การดูแลสภาพแวดล้อม การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งสาธารณประโยชน์ (สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ศูนย์สุขภาพ โรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน ฯลฯ) สิ่งสาธารณูปโภค (ถนน หนทาง ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ)
รวมทั้ง เพื่อสร้าง/สถาปนาปัจจัยที่รับประกันความยั่งยืนให้แก่ความปลอดภัยพิบัติ ได้แก่
1.ปัจจัยที่หนึ่ง ความรู้สึก “รัก” พื้นที่ภูมิศาสตร์ และพื้นที่ทางสังคม
2.ปัจจัยที่สอง พัฒนาต่อยอดความรู้