จากประสบการณ์ในการทำงานส่งเสริมการจัดการภัยพิบัติในชุมชนที่ผ่านมาของผู้เขียน ประเมินการทำงานถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จที่ยั่งยืน พิจารณาได้ว่าเรามีทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ประสบการณ์ปัจจุบันที่ได้ทบทวน ใคร่ครวญแล้ว พบแนวทางที่จะต้องปรับเปลี่ยนยึดถือในการทำงานชุมชน ดังนี้
๑.”ผลประโยชน์สาธารณะเป็นเป้าหมายไม่ใช่แค่ผลพลอยได้ที่เกิดขึ้น” (public interest is aim, not by-product) ต้องสร้างแนวคิดร่วมกันของผลประโยชน์สาธารณะกับประชาชน/ชุมชนและความรับผิดชอบร่วมกันกับประชาชน/ชุมชน
๒. “คิดแบบยุทธศาสตร์และทำตามหลักประชาธิปไตย” (think strategically, act democratically) นโยบายและโครงการต่างๆที่จะตอบสนองความต้องการสาธารณะจะต้องทำได้อย่างมี ประสิทธิผลและมีการรับผิดชอบโดยใช้ความพยายามร่วมกัน และกระบวนการที่มีความร่วมมือ
๓. “สร้างค่านิยมที่ใช้ร่วมกันมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวของปัจเจกบุคคลที่นำมารวมกัน” ดังนั้นรัฐไม่เพียงแต่ต้องตอบสนองต่อความต้อง การของลูกค้าแต่จะต้องสร้างความสัมพันธ์ของความไว้วางใจและความร่วมมือร่วม ใจกันระหว่างประชาชนอีกด้วย
๔. “สนใจสถานภาพที่เป็นอยู่ (statutory) รัฐธรรมนูญ ค่านิยมของชุมชน ปทัสถานของการเมือง มาตรฐานความเป็นมืออาชีพ และผลประโยชน์ของประชาชน”
๕. “ให้คุณค่าในความเป็นคน ไม่มุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพ” จะประสบความสำเร็จในระยะยาวถ้ามีการใช้กระบวนการที่มีความร่วมมือ ร่วมใจและมีการเป็นผู้นำร่วมกันโดยมีพื้นฐานจากการให้เกียรติผู้คนในชุมชน
๕. ให้คุณค่าความเป็นประชาชนและการบริการสาธารณะมากกว่าความเป็นเจ้าของ (value citizenship and public service above en-treprenurship) ผลประโยชน์สาธารณะจะมีความก้าวหน้าในทางที่ดีถ้ารัฐและประชาชนได้มุ่งมั่น ร่วมกันที่จะช่วยเหลือสังคมมากกว่าที่จะใช้ความเป็นเจ้าของที่ทำเหมือนกับ ว่าเป็นตัวเองเป็นเจ้าของในเงินของรัฐ