วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในปี 2555-2556 ข่าวคราวการตัดสินใจของ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ(นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา)ที่มีนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะนำบุตรหลานไปเรียนยังโรงเรียนที่คิดว่ามีคุณภาพดีแม้จะไม่อยู่ใกล้บ้าน

แม้จะมีผู้ปกครองส่วนหนึ่งที่ไม่มีความพร้อมหรือจะมีเหตุผลอื่นใดก็ตาม ให้บุตรหลานเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านที่กลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สภาพที่เกิดขึ้นก็ทำให้บุตรหลานอันเป็นที่รักของท่าน อาจจะไม่ได้รับโอกาสที่ดีในด้านการศึกษาทัดเทียมกับนักเรียนในโรงเรียนขนาดกลางขนาดใหญ่ ในด้านห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา ครูเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ไม่ครบ การจัดชั้นเรียนที่ไม่ครบ

ด้วยพื้นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กนั้น ส่วนใหญ่คือโรงเรียนเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ในชุมชนที่อยู่ห่างไกล  ดังนั้น  นอกจากปัญหาคุณภาพการศึกษาที่จะด้อยกว่าโรงเรียนขนาดกลาง/ขนาดใหญ่แล้ว  ปัญหาอีกอย่างของโรงเรียนขนาดเล็ก การไม่มีความพร้อมทั้งด้านกำลังคน กำลังงบประมาณ และการประสานความร่วมมือกับภายนอกโรงเรียนในการจัดระบบความปลอดภัยของโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็กของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่

มาตรฐานที่ 1 นักเรียนมีความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและบุคคลที่อาจก่ออันตรายต่อนักเรียน

1.การจัดระบบรับ-ส่งนักเรียนที่ปลอดภัยให้กับนักเรียนทุกคนในการเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับโรงเรียอย่างเหมาะสม

2.จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะให้นักเรียนในเรื่องความปลอดภัยทั้งด้านสิ่งแวดล้อม อุบัติเหตุ อุบัติภัย บุคคล และสุขอนามัย

3.กิจกรรมสำรวจจุดเสี่ยง ทั้งภายในโรงเรียนและเส้นทางไป-กลับบ้านกับโรงเรียน

มาตรฐานที่ 2 นักเรียนได้รับการเฝ้าระวัง ดูแล การช่วยเหลือ และการคุ้มครองให้นักเรียนปลอดภัยทั้งในและนอกบริเวณโรงเรียน

1.บันทึกการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บทั้งอุบัติเหตุ และจงใจ (ทะเลาะวิวาท) และนำข้อมูลที่บันทึกมาวิเคราะห์ และวางแผนดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

2.ครูและบุคลากรไม่ใช้ความรุนแรงกับนักเรียน

มาตรฐานที่ 3 การประสานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน และหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก

1.จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

—————————ปปปปปป———————