วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การจัดหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติ  มีการกล่าวถึงบ่อยๆ ในการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติ โดยมักกล่าวว่า ต้องบรรจุเป็นหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติให้มีการเรียน การสอนในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษา การดำเนินการดังกล่าว ยิ่งถ้าเป็นหลักสูตร  เป็นโปรแกรมการศึกษามีความเป็นไปได้เฉพาะระดับบัณฑิตศึกษาเท่านั้น  ระดับอื่นๆ เป็นไปได้แค่เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา

ในปัจจุบัน การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับภัยพิบัติ มีสถานะเป็นอย่างไร

สถานะยังถือว่าขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภัยพิบัติ หรือองค์ความรู้ ด้านภัยพิบัติแม้บุคลากรของหน่วยงานกลางด้านสาธารณภัยเอง ส่วนใหญ่ก็ยังขาดองค์ความรู้  แม้จะเป็นวิทยากรให้ความรู้ สร้างความเข้าใจกับประชาชน ก็ยังสามารถสร้างประสิทธิผลได้เพียงน้อยนิด แนวทางที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน คือ ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตั้งศูนย์ศึกษาหรือศูนย์วิจัยภัยพิบัติขึ้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ภัยพิบัติ 

แนวทางการจัดการศึกษาอื่นๆ นั้นมีลำดับความสำคัญ หรือความจำเป็นเร่งด่วน เรียงลำดับได้ ดังนี้

1.สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดตั้งศูนย์ศึกษาภัยพิบัติหรือศูนย์วิจัยภัยพิบัติ
2.สร้างชุมชนพึ่งพาตนเองตนเอง
3.เสริมความรู้ด้านภัยพิบัติในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ด้านสังคมวิทยา ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวิศวกรรมศาสตร์
4.สร้างกระแสสังคมด้านลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ จากแรงบันดาลใจของบุคคล หรือองค์กร
0000000000000000000000000

 

Search