วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ระบบบัญชาการกู้ภัย (Incident Command System : ICS)

คือ ระบบที่ใช้เพื่อการสั่งการ/ การควบคุม /และการประสานความร่วมมือ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกาและใช้กันอย่างแพร่หลาย  ในการตอบโต้อุบัติภัยหลายประเภท อาทิ  วัตถุอันตราย เพลิงไหม้ ภัยธรรมชาติ การค้นหาและภารกิจช่วยเหลือที่มีพื้นที่กว้าง

หลักการของระบบบัญชาการกู้ภัย

1.ความหมายที่เป็นสากล

2.องค์กรมาตรฐาน

3.การสื่อสารที่เป็นหนึ่งเดียว

4.การสั่งการที่เป็นหนึ่งเดียว

5.โครงสร้างการสั่งการที่รวมกัน

6.การรวมแผนปฏิบัติการกู้ภัย

7.การจัดการช่วงของการควบคุม

8.การกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในการกู้ภัย

9.การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างระบบบัญชาการกู้ภัย

1.การสั่งการ / การบัญชาการ (Command)

2.การวางแผน (Planning)

3.การปฏิบัติการ (Operations)

4.การสนับสนุน / การส่งกำลังบำรุง (Logistics)

5.การเงิน / การบริหาร (Finance / Administration)

องค์ประกอบของระบบบัญชาการกู้ภัย

1.ผู้บัญชาการกู้ภัย (Incident Command : IC)

2.รับผิดชอบในการบริหารจัดการการตอบโต้เหตุโดยรวม

3.ทีมบัญชาการกู้ภัย (Command Staff)

: เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล

: เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

: เจ้าหน้าที่ประสานงาน

: ตัวแทนหน่วยงาน

4.ทีมปฏิบัติการ (General Staff)

: ส่วนวางแผน

: ส่วนปฏิบัติการ

: ส่วนสนับสนุน

: ส่วนการเงิน / การบริหาร

ลำดับความสำคัญในการตัดสินใจ

1.การรักษาชีวิต (Life Safety)

2.ความแน่นอนของสถานการณ์ (Incident stability)

3.การรักษาทรัพย์สิน (Property Conservation)


การจัดองค์กรตามระบบบัญชาการกู้ภัย

1. จัดตั้งศูนย์บัญชาการ / จุดสั่งการในที่เกิดเหตุ

2. จัดองค์กรในการตอบโต้เหตุเบื้องต้น

3. พิจารณาความต้องการความชำนาญเฉพาะ

4. ติดตามและรักษาขนาดการควบคุม

5. การถอนกำลังหน่วยงานที่ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานต่อไป

6. หลีกเลี่ยงการรวมตำแหน่งภายในองค์กรตามระบบบัญชาการกู้ภัย

7. การถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการกู้ภัย


การมอบหมายหน้าที่ตามระบบบัญชาการกู้ภัย

ก .จุดประสงค์

1.สำหรับการพร้อมเข้าปฏิบัติงาน การรายงานตัว การปฏิบัติหน้าที่ และการถอนกำลังออกจากที่เกิดเหตุ

2.เพื่อช่วยให้ทราบขั้นตอนการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติในขณะเกิดเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข.การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มปฏิบัติการ

: ทราบว่าตนต้องปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใดในที่เกิดเหตุ

ค.การเตรียมพร้อมส่วนบุคคล

: เสื้อผ้า รองเท้า วัสดุและ ของใช้ส่วนตัว ยาประจำตัว

ง.วิธีการเข้าปฏิบัติงาน

: ขณะเข้าปฏิบัติงานเป็นช่วงที่ยุ่งยากที่สุด โดยเฉพาะเหตุการณ์ใหญ่ๆ และซับซ้อน

: วิธีปฏิบัติของแต่ละชุมชนแตกต่างกันไปตามลักษณะเหตุการณ์

จ. กิจกรรมในการเข้าปฏิบัติงานทันที

ย. กิจกรรมก่อนและหลังการรายงานตัว

ฟ. การจดบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน

ห. การติดต่อสื่อสาร

ส. วิธีถอนกำลังจากสถานที่เกิดเหตุ

————————–888888888888————————–