วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความเป็นนิติรัฐมีผลต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างมากๆ โดยเฉพาะในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน และชุมชนท้องถิ่นเพื่อรักษาความปลอดภัย และส่งเสริมความเจริญของประเทศ

การมีนิติรัฐที่เข้มแข็งและมีกฎหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้รัฐบาลสามารถดำเนินการจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว  มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดการภัยพิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานมีความเป็นไปได้และมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ การมีนิติรัฐที่ดียังสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและชุมชนท้องถิ่นในการจัดการภัยพิบัติ โดยช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันและประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ ซึ่งการจะมีนิติรัฐ จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

  1. การไม่เลือกปฏิบัติ
  2. คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพ
  3. ต้องคาดเดาได้
  4. ความเป็นอิสระของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

หลักนิติธรรมเป็นอย่างไร

หลักนิติธรรม ที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 3 วรรคสอง “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยส่วนรวม”  เนื่องจากหลักนิติธรรมเป็นหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง  โดยมีแนวคิดว่า คนทุกคนต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมายและภายใต้ศาลเดียวกันตามหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย  ซึ่งการบริหารจัดการภัยพิบัติก็มีกฎหมายตามหลักนิติธรรมมากมาย เช่น

ในทางตรงกันข้าม หลักนิติรัฐ กับมีแนวคิดว่า การจำกัดอำนาจของรัฐโดยกฎหมาย การทำให้รัฐต้องผูกพันอยู่กับหลักการพื้นฐานและคุณค่าทางกฎหมายโดยไม่อาจบิดพริ้วได้ ด้วยเหตุนี้หลักนิติรัฐจึงไม่มีความหมายแค่เพียงการบังคับให้รัฐต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเท่านั้น แต่ยังเรียกร้องให้รัฐต้องดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นอย่างแท้จริงในสังคมด้วย

ระเบียบกฎหมายที่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ