วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้วยตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่าในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องให้เกิดความรัก เสียสละ ภาคภูมิใจต่อชาติศาสนา  ต่างจากนานาอารยชนที่เจริญแล้วทั้งหลายที่มุ่งปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของปัจเจกบุคคล เรียนรู้ตามสิ่งที่สนใจและประสิทธิภาพของนักเรียนแต่ละคน

การเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น เป็นการควบคุมของรัฐพันลึก ซึ่งกำหนดให้มีกรอบการบริหารของรัฐที่มีความลึกลับและควบคุมการดำเนินการของสถาบันและองค์กรต่างๆ ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก

รัฐที่มีกรอบการบริหารที่มีความลึกลับอาจส่งผลให้มีการลดลงของความโปร่งใสในการดำเนินการของรัฐบาล และส่งผลให้มีการละเว้นการดำเนินการที่มีคุณค่าสำหรับประชาชน เช่น การลดงบประมาณการศึกษาหรือการปรับปรุงระบบสาธารณสุข

นอกจากนี้ กรอบการบริหารของรัฐที่มีความลึกลับ ส่งผลให้มีการลดลงของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแก้ไขปัญหาของประชาชน การยับยั้งการแสดงความคิดเห็นของประชาชน  ทำให้มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ไม่แยแสให้เกิดการมีส่วนร่วมและการมีส่วนสัมพันธ์กับการตัดสินใจของรัฐบาล

สภาพสังคมตามที่กล่าว เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นก็จะปรากฏสภาพดักดานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้ประสบภัยพิบัติ

1.เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น สภาพดักดานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐก็จะปรากฏ โดยแทนที่จะเป็นตัวกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชนผู้ประสบภัย  ก็จะแสดงศักดาว่า “มึงรู้ไหมพ่อกูคือใคร”  มองผู้ประสบภัยเป็นเพียงเครื่องมือเซ่นไหว้เจ้านาย

2.ผู้ประสบภัยก็จะแสดงความดักดานออกมา โดยขาดเซลสมองในการไตร่ตรองพิจารณาการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ขาดการประเมินผลของการจัดการภัยพิบัติ เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ให้บริการช่วยเหลือตามความเหมาะสมและตามหลักการของการบริหารจัดการภัยพิบัติหรือไม่  เมื่อได้แบมือก็ “สาธุ สาธุ เจริญๆๆ ได้แดกได้อิ่มหมีพีมันต่อไปเถอะเจ้าประคูณ”