วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แนวคิดการจัดตั้งบประมาณแบบฐานศูนย์ ได้รับการเอาใจใส่ที่จะนำมาใช้ของพรรคก้าวไกล ที่ได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้ามาบริหารประเทศเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับการเลือกตั้ง ในปี 2566

แนวคิดนโยบายดังกล่าวเป็นการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป  งบประมาณที่ไม่สามารถยืนยันถึงตวามคุ้มค่าและความจำเป็น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ลงไปให้จังหวัด และกลุ่มจังหวัด ให้เปลี่ยนไปลงท้องถิ่นแทน

เรียกได้ว่าประเทศไทยได้กลิ่นอายของการพัฒนาความเจริญของท้องถิ่น ที่ถูกหน่วยงานกลางด้านสาธารณภัยของรัฐเข้ามาระรานบทบาทอำนาจหน้าที่ บทบาทหน้าที่ที่ระรานท้องถิ่น จะมี  3 ด้าน คือ

1.การจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมืออุปกรณ์ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา  หน่วยงานกลางด้านสาธาณณภัยก็จะซื้อมาแจกจ่าย อปท.และซื้อให้สำนักงานที่ประจำในจังหวัดต่างๆนำไปใช้ตามคำสั่งผู้อำนวยการจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด) เช่น เครื่องสูบน้ำขนาดเล็กถึงขนาดกลาง  ถือได้ว่าหน่วยงานกลางดำเนินการเกินความจำเป็นและอาจจะไม่คุ้มค่าสำหรับการใช้งาน

2.การนำงบประมาณไปฝึกอบรมประชาชนที่มีรูปแบบที่ครอบงำประชาชน และบิดเบือนแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน  หรือการจัดอีเว้นท์จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วม

3.การนำงบประมาณไปสร้างอาณาจักรขององค์กร แทนที่จะมุ่งนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ กับมุ่งนำงบประมาณไปสร้างกำลังพล เพื่อเข้ามาพร้อมวัสดุอุปกรณ์ และภาระงานที่ล้าสมัย  เช่น

         3.1 การตรวจจับความเคลื่อนตัวของมวลดินด้วย AI

         3.2 ระบบสื่อสารช่วยผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว/แผ่นดินถล่ม ของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เรียกว่า ระบบดิชาสเตอร์ลิงค์  ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้แม้โครงสร้างการสื่อสารถูกทำลาย (ใช้ได้แม้ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต