วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

วิถีชีวิตคนไทยในพื้นที่เปราะบาง  ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ   จะพบร่องรอยหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ คือ “ความใจกว้าง” กับรัฐราชการปรสิต แต่ “ใจแคบ” ต่อสหธรรมิกในพื้นที่ (ผู้ที่ประสบชะตากรรมร่วมกันในพื้นที่)

ภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและพลิกผันอย่างรวดเร็ว รัฐราชการปรสิตกลับไม่แยแสต่อการรับฟังข้อมูลจากผู้ปฏิบัติ/ผู้ประสบภัยที่สัมผัสกับปัญหา เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทที่แท้จริง แต่กลับพลิกฟันใช้พหุวิทยาการ (Multidisciplinary) เพื่อบิดเบือนครอบงำความคิดของประชาชน

ศิลปะในการใช้พหุวิทยาการ (Multidisciplinary) สามารถพรั่งพรูออกมาใช้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา ก็เพราะประชาชนใจกว้างต่อรัฐราชการปรสิต ไม่เคยคิดตั้งคำถามต่อการปฏิบัติการต่อการทำงานของรัฐราชการปรสิต   ผลลัพธ์ที่ได้คือรัฐราชการปรสิตได้ขนย้ายงบประมาณแผ่นดินออกมาใช้จ่ายอย่างไร้คุณค่า ใช้จ่่ายบนความสมเหตุสมผลที่บิดเบือน สามารภทำตาม “อำเภอใจ” (Arbitrary)

ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ของหน่วยงานกลางของรัฐด้านสาธารณภัย  สูงกว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายของ อปท. ถึง 3 เท่า (ค่าขนย้าย  ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าจ้างค่าตอบแทนจะมากกว่ากว่า อปท.(ค่าจ้างงานระดับเชี่ยวชาญ ชำนาญการพิเศษ ระดับอำนวยการสูง ซึ่งมีค่าจ้างตอบแทนสูงแต่กลับมาระรานบทบาทหน้าที่ของ อปท.))  รวมถึงความรวดเร็วฉับไวจะช้ากว่า อปท.

จากที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นความใจกว้างต่อรัฐราชการปรสิต

แต่ในทางตรงกันข้าม  ความใจกว้างดังกล่าวกลับไม่ถูกนำมาใช้กับผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันในพื้นที่  โดยเฉพาะในด้านทัศนคติ ความคิดความเห็น  จะไม่สามารถใช้หลักประชาธิปไยได้เลย แต่กลับมองคนที่คิดต่างเป็น “ศัตรู” มีมายาคติเผด็จการทางความคิด