การจัดการภัยพิบัติภายใต้ระบบนิเวศวิทยาการเมือง(Political ecology)
ประสิทธิภาพและความยั่งยืนของการจัดการภัยพิบัติ นอกจากจะมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติงาน มีกรอบอำนาจหน้าที่แล้ว จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยทางนิเวศวิทยาการเมืองประกอบด้วย
ซึงระบบนิเวศวิทยาการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ ประกอบด้วย
๑.แนวคิดเรื่องกลุ่มอำนาจท้องถิ่น
(มักเกี่ยวข้องในแง่ผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็ต้องการความนิยม ฐานคะแนนเสียง) ฯลฯ
๒. แนวคิดเรื่องระบบอุปถัมถ์
(ซึ่งแนวคิดนี้อาจจะมีอิทธิพลน้อยลง เนื่องมีหน่วยงานอิสระ(พวกตระกูล ป.)เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ ฯลฯ
๓. แนวคิดการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่
(นับวันจะมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น และส่วนราชการก็ต้องการประกอบการดำเนินงานหรือจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบใหม่ๆตามกระแสโลกาภิวัฒน์ )
แม้ปัจจุบัน จะพบกับปัญหาเกี่ยวกับนิเวศวิทยาการเมือง ในการจัดการภัยพิบัติขนาดใหญ่ แต่ในอนาคตนิเวศวิทยาการเมืองจะเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการภัยพิบัติ(ด้านการป้องกัน เตรียมพร้อมมากกว่าด้านรับมือและฟื้นฟู)