วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การบริหารจัดการภัยพิบัติของรัฐราชการปรสิต จะคำนึงถึงภาพการสยบสถานการณ์อย่างเรียบร้อย แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้รวดเร็ว โดยจะไม่แยแสต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น  ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ชุมชน  (ในหลายๆ เหตุภัยพิบัติ เราจะเห็นชุมชนท้องถิ่นจะมีนวัตกรรม มีการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการต่อสู้กับภัยพิบัติ แต่รัฐไม่มีความใส่ใจที่จะสานต่อ) ในหลายพื้นที่การสยบสถานการณ์อย่างเรียบร้อย แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้รวดเร็วเราก็จะพบความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ

การบริหารจัดการภัยพิบัติที่โฆษณาว่าทันสมัยอย่าง Single Command  จะมองประชาชนผู้ประสบภัยเป็นเพียงผู้อ่อนแอ ผู้ที่รอคอย(ความต้องการ)สิ่งของบรรเทาทุกข์ และต้องการการชดเชยค่าเสียหาย  แต่ควรตระหนักถึงศักยภาพและประสบการณ์การเผชิญภัยพิบัติของชุมชน ไม่มีความใส่ใจในการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น การกระทำของระบบริหารจัดการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดภาวะเปราะบางและความเสี่ยงต่อกลุ่มคนต่าง ๆ ในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่อาจเข้าไม่ถึงทรัพยากรและโอกาส

นับประสาอะไรกับส่วนที่ไม่มีปากไม่มีเสียง ดังเช่นสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  เมื่อประสบภัยพิบัติก็จะถูกละเลยเสมอ

1.การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ: ภัยธรรมชาติเช่น พายุหรือแผ่นดินไหวอาจทำลายป่าสงวนธรรมชาติหรือพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ การทำลายทรัพยากรธรรมชาตินี้ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานโดยตรง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตในห้วงโซ่อุปทานอาจสูญเสียที่อยู่หรือแหล่งอาหารที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้สัตว์และพืชที่อยู่ในระบบหมดหวังหรือสูญพันธุ์ได้

2.การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม: ภัยธรรมชาติอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อความอยู่อาศัยและการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอาจทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยมีอยู่ไม่เหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมใหม่ ทำให้ห่วงโซ่อุปทานและระบบนิเวศของธรรมชาติทั้งหมดเปลี่ยนแปลงไป