วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ทุกอย่างในโลกนี้มีลักษณะที่เป็นความสัมพัทธ์(Relative)กันทั้งสิ้น ไม่มีลักษณะใดที่เป็นสัมบูรณ์(Absolute) ธรรมชาติได้ถูกมนุษย์กระทำย่ำยีมานับหลายศตวรรษ

จนปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้บานปลายเป็นความรุนแรงถึงขั้นก่อความเสียหายแก่ทรัพย์สิน  แก่สภาพสังคม แก่สภาพเศรษฐกิจของมนุษย์ และจะมีความรุนแรงถึงขั้นชีวิตมนุษย์มากขึ้น  ทดแทนหลากหลายชีวิตในชีวมณฑลของธรรมชาติที่มนุษย์ฆ่าฟันทำลายล้างไปนับหลายพันล้านชีวิต

 

ชีวิตพืชหรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่นำมาบังคับข่มขืนให้เร่งเจริญเติบโตด้วยปุ๋ย  ด้วยสารเคมี  ด้วยสารอาหาร ด้วยฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญพันธ์เจริญเติบโต  ก็จะถูกทำลายล้างให้หายไป

พืชและสัตว์เหล่านั้นต้องการเพียงมีชีวิตรอด  แต่มนุษย์นอกจากต้องการรอดตายแล้วยังต้องการความสะดวกสบาย  เหล่าสิ่งมีชีวิตในชีวงมณฑลของธรรมชาติถูกแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความสะดวกสบายของมนุษย์

ณ ปัจจุบันธรรมชาติไม่อาจจะคงรูปแบบความสัมพันธ์ในชีวมณฑลให้เป็นไปตามที่มนุษย์คุ้นเคยได้อีก ความปั่นป่วนวุ่นวายจากการล่มสลายของสมาชิกที่มากมาย ที่อยู่รอดก็อ่อนแอเกินที่จะคงอยู่ในลักษณะเดิมได้

แม้มนุษย์จะสร้างกฎหมาย สร้างระบบที่จะเกิดความยุติธรรมระหว่างกัน อันนำไปสู่สันติวิธี แต่ธรรมชาติก็ไม่ได้รับความยุติธรรมจากสิ่งเหล่านั้น  การปรองดองไม่ใช่การทำให้ฝ่ายหนึ่งยอมจำนน ความสงบที่ดูเหมือนปรองดอง แต่เป็นการสงบก่อนพายุใหญ่ แม้จะสงบอยู่นานก็จะต้องมีพายุใหญ่

ซึ่งจะล้างผลาญรุนแรงแน่นอน  ซึ่งนั่นก็หมายถึงภัยพิบัติอันร้ายแรงยิ่งที่จะต้องเผชิญ