จากเสียงเล่าลือของนักล่าอาณานิคมตะวันตก และขุนนางสำเภาจีนสมัยอยุธยา ดินแดนแห่งส่วย นั้นเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ของประเทศไทย จากเดิมที่ปรสิตจะไม่มีเงินเดือน ยังชีพด้วยความรำ่รวยด้วยการเก็บส่วย และมีการตกลงอัตราการแบ่งส่วนกับผู้ครองเมือง
แต่การปฏิบัติดังกล่าว กลับกลายเป็นสันดานของข้าราชการไทย เพราะเมื่อมีการนำเอาภาษี/อากร (ส่วยเดิม) ที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบมาจัดแบ่งเป็นเงินเดือนให้ข้าราชการ แต่การเก็บส่วยกลับไม่มีการเลิกไปด้วยเหตุดังที่กล่าวมา กลับเฟื่องฟู มีเม็ดเงินปีละหลายหมื่นล้านบาท https://fb.watch/lV0Cf125rj/
ไม่เว้นแม้กระทั่ง ในสถานการณ์ภัยพิบัติก็ยังมีการเก็บส่วย ทั้งๆ ที่เป็นยามที่เกิดความทุกข์ความยากลำบากในการดำรงชีวิต ฟื้นฟูการทำมาหากิน อีกทั้งอาศัยสถานการณ์คับขันของประชาชนมาใช้ขีนใจประชาชนให้ยอมจ่ายส่วย และมีกลไกแยบยลซับซ้อนมากกว่าการเก็บส่วยสมัยอยุธยา ที่ข้าราชการไปเก็บเอาทรัพย์สินมีค่าจากประชาชนโดยตรง แต่ส่วยภัยพิบัติจะเป็นการเก็บจากคนทั้งประเทศ (เงินงบประมาณ/เงินภาษีของรัฐ) โดยนำเงินงบประมาณมาใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ ในลักษณะต่างๆ ดังนี้
- สมรู้ร่วมคิดกับผู้ประสบภัย โกงปริมาณความเสียหายของทรัพย์สิน เช่น การซ่อมแซมถนน การเป่าล้างบ่อบาดาล (ทั้งๆ บ่อบาดาลชำรุด จนเลิกใช้มานานแล้ว)
- สมรู้ร่วมคิดกับผู้ประสบภัยพิบัติโกงปริมาณ/ยอดจำนวนคนที่ได้รับความเดือดร้อน
- เมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติสิ้นสุด ก็จะจัดทำบัญชีเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติชำรุด สูญหายเป็นจำนวนมาก บางรายการก็ไม่เคยนำมาใช้ในพื้นที่เกิดภัยพิบัติด้วยซ้ำ ที่นิยมกันก็มีเครื่องมือวัสดุแุปกรณ์ดังนี้
3.1 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช /สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพิช /ยาฆ่าแมลง https://www.isranews.org/article/isranews-news/118082-inves0999-5.html https://www.isranews.org/article/isranews-news/118082-inves0999-5.html / https://www.thaipbs.or.th/news/content/143618
3.2 เรือยาง+ไม้พาย
3.3 เสื้อชูชีพ
3.4 ถุงยังชีพยามฉุกเฉิน (มียุคหนึ่ง ปลากระป๋องเน่า ทำเอา รมต.ตกเก้าอี้ไปเลย https://tja.or.th/view/awards/news-contest-2009/5744)