วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ถ้าประชาชนในชุมชน ส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตสาธารณะ ชุมชนนั้นก็จะสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆของชุมชนได้  ซึ่งชีวิตสาธารณะเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันภัยพิบัติ โดยจะทำให้ชุมชนมีสมรรถนะที่สูงขึ้น

ชีวิตสาธารณะเป็นอย่างไร

คำตอบคือเป็นชุมชนที่มีการแสวงหาวิธีกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่หลากหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้คนในชุมชน รวมทั้งคนแปลกหน้าได้มาพบปะแก้ไขปัญหาร่วมกัน เกิดกระบวนการเรียนรู้และความสัมพันธ์เชิงสาธารณะในที่สุด

ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ในการเสริมสร้างชีวิตสาธารณะ มีดังนี้

  1. กำหนดประเด็นหรือปัญหาโดยประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ขบคิดปัญหาในแง่ผลประโยชน์ตนและผลประโยชน์ผู้อื่น กระตุ้นให้ประชาชนเกิดสำนึกในชะตากรรมร่วม  พร้อมแบกรับและแก้ไขปัญหา

2. สร้างทางเลือกโดยผ่านกระบวนการพินิจพิเคราะห์ ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะความขัดแย้งจากมุมมองที่แตกต่างกัน การสนทนาบางครั้งอาจไม่จบใน ครั้งเดียว แต่เป็นการสร้างแนวทางกว้างๆให้เห็นเป้าหมายร่วมกัน กิจกรรมที่เป็นไปได้ การปรับเปลี่ยนทัศนะหรือท่าทีหลังจากได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากการสนทนา

3. การดำเนินกิจกรรมสาธารณะ กิจกรรมนี้ไม่มีรูปแบบตายตัว เป็นกิจกรรมที่ระดมพลังประชาชนทำเพื่อประชาชนโดยรวม เช่น การฟื้นฟูสวนสาธารณะ ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดวัด เป็นต้น เป็นกิจกรรมที่มิได้ทดแทนกิจกรรมของรัฐหรือของเอกชน

4.การประเมินผลกิจกรรมโดยสาธารณะ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินด้วยความรู้สึกที่เป็นเจ้าของและรับผิดชอบร่วมกัน ว่ากิจกรรมนั้นมีคุณค่าต่อพวกเขาอย่างไร เขาจะปรับปรุงกิจกรรมต่อเนื่องอย่างไร มิใช่การประเมินที่ทำลายความสัมพันธ์เชิงสาธารณะที่มีอยู่

 

ยุทธศาสตร์การสร้างชีวิตสาธารณะหรือชุมชนเข้มแข็งข้างต้น  ต้องการเวลาและการสนทนาประเด็นต่างๆ  ด้วยความคิดอย่างพินิจพิเคราะห์ การสนทนาร่วมกันเพียงครั้งเดียวอาจไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องดำเนินการกิจกรรมทั้ง  4 อย่างต่อเนื่องจนเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้เลย

 

———————-99999999999——————–