วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สภาพสังคมของผู้ประสบภัยพิบัติมักจะอยู่ภายใต้ทฤษฎีชนชั้นนำ  ที่ประชาชนไม่มีน้ำยาอะไรสามารถควบคุมการดำเนินการของรัฐราชการได้  ยอมรับการบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล  ประชาชนยอมเป็นผู้ตามที่ดี เชื่อฟังน้อมรับการสื่อสาร  คำแนะนำ หรือแม้กระทั่งการอบรมสั่งสอนของชนชั้นนำ ที่บริหารรัฐราชการปรสิต

ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่ระเบียบกฎหมายสามารถตีความใช้เพื่อผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลได้  ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมของผู้ประสบภัยให้ดีขึ้นได้  จะต้องมีการสถาปนากลุ่มกดดัน (pressure groups) ขึ้น เพื่อมีส่วนร่วมในกระบวนการการตัดสินใจของรัฐบาล หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอิทธิพลในการบริหารจัดการภัยพิบัติ   โดยโครงสร้างของกลุ่มกดดันจะต้องมีประเด็นเหล่านี้

  1. ต้องรวมตัวกันให้เป็นรูปแบบ  เช่น องค์กรภาคเอกชน สมาคมอาชีพ สหภาพแรงงาน องค์กรสิ่งแวดล้อม หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสังคม
  2. ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และกฎหมายภายในองค์กร เพื่อส่งเสริมพัฒนาและให้กลุ่มมีอิทธิพลที่แข็งแกร่ง
  3. ต้องมีเวทีที่เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นต่ออำนาจที่เกี่ยวข้องในการจัดการภัยพิบัติ
  4. ต้องมีการสื่อสารเพื่อสร้างความต้านทาน หรือการได้รับการสนับสนุนต่อกิจกรรม  เพื่อลดผลกระทบต่อกลุ่มกดดันในด้านต่างๆ