สรุปลักษณะผลกระทบจากมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น เมื่อประสบอุทกภัย น้ำท่วมขังเต็มพื้นที่หรือบางส่วน หรือนำ้ท่วมขังพื้นที่ระบบบำบัดน้ำเสีย ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ จนไม่อาจสามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการต่างๆตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน
ลักษณะการได้รับผลกระทบทางด้านมลพิษภายหลังน้ำลด จะมี ๒ ลักษณะ คือ
๑. ผลจากน้ำเสียเกิดการแพร่กระจาย รั่วไหลสู่แหล่งน้ำหรือชุมชน
๒. ผลจากมลพฺษจากกากของเสีย ขยะมูลฝอย อาจแพร่กระจายไปจากพื้นที่กักเก็บ
ข้อแนะนำในการป้องกันและแก้ไข
ด้านการป้องกันน้ำท่วม
๑.ตรวจสอบ ปรับปรุงระบบระบายน้ำภายในพื้นที่
๒.จัดทำแผนควบคุมสารเคมี/กากของเสียอันตราย ระบบบำบัดของเสียหรือระบบสาธารณูปโภค
๓.การรณรงค์/เผยแพร่ให้ความรู้ประชาชนในการการป้องกันมลพิษ ปัญหาด้านสุขภาพ การรับมือกับอุทกภัย
ด้านการควบคุมน้ำท่วมและการลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม
๑.เตรียมการอพยพ(คน/ทรัพย์สินมีค่า)
๒.การป้องกันจัดการกากของเสียอันตรายไม่ให้หกรั่วไหล/แพร่กระจาย
ด้านการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด
๑.การสำรวจสภาพพื้นที่ ประเมินความเสียหายและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมโดยรอบ
๒.การลดหรือผ่อนปรนมาตรการที่กำกับดูแลในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
๓.การเผยแพร่/รณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพภายหลังน้ำลดและภาวะความเครียดและภาวะซึมเศร้า
0000000000000000000000000000