เมื่อเราใช้น้ำแล้ว น้ำจะกลายเป็นน้ำเสีย แต่ก็ใช่จะทั้งหมด นำ้บางส่วนถูกใช้เพียงล้างมือ ล้างหน้า ก็จะปนเปื้อนเพียงน้ำมันจากผิวหนัง เศษหนังกำพร้า ฝุ่นละออง สบู่ บางส่วนจากกสารอาบน้ำ น้ำซัก ผ้าจะเปื้อนสิ่งสกปรกและสารซักฟอก น้ำเสียจากครัวเรือนจะปนเปื้อนไขมัน เศษอาหาร ที่น่าจะสกปรกที่สุดก็เห็นจะเป็นน้ำจากส้วมที่ปนเปื้อนสิ่งขับถ่าย ปัสสาวะ อุจจาระ
ในทางวิศวกรรมแบ่งน้ำเสียในครัวเรือน ออกเป็น ๒ ชนิด คือ
- น้ำสีเทา นำ้สีเทามักจะเป็นน้ำที่มีความสกปรกไม่มาก มักจะเป็นน้ำจากฝักบัว ก็อกน้ำที่ใช้อาบน้ำ ล้างมือ ล้างหน้า ที่มีสีเทาๆ น้ำเสียสีเทามีสัดส่วนเป็นร้อยละ ๕๐-๘๐ ของน้ำเสียทั้งหมดในครัวเรือน
- น้ำสีดำ น้ำเสียสีดำจะเป็นน้ำที่ปนเปื้อนสิ่งขับถ่ายจากส้วมที่ชำระล้างของเสีย
การจัดการน้ำเสียจากครัวเรือนในปัจจุบัน โดยการระบายทิ้งทั้งหมดผ่านถังบำบัด ถือเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างสิ้นเปลืองที่ขาดการจัดการ ซึ่งที่จริงแล้วน้ำเสียสีเทาและสีดำประกอบด้วยน้ำและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ หากใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตัวอย่างเช่น
1. ต่อท่อน้ำทิ้งไปยังต้นพืชโดยตรง แต่ไม่ควรจะปล่อยให้น้ำในปริมาณมากตำแหน่งเดียวนานๆ จะทำให้โครงสร้างของดินเสีย รากพืชอาจเน่าได้ และในกรณีที่น้ำปนเปื้อนสารซักฟอกที่ไม่ย่อยสลายก็จะทำให้พืชตายได้และดินเสีย ดังนั้น สำหรับคนที่ต้องการนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ควรหันมาใช้สบู่ธรรมชาติหรือสารซักฟอกที่ย่อยสลายได้ ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้ดินเสียแล้ว ยังมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชด้วย และจุดปล่อยน้ำควรปล่อยผ่านวัสดุคลุมดิน เช่นหญ้าแห้ง ฟางแห้ง จะดีกว่าปลอ่อยลงดินโดยตรง
2. การติดตั้งถังพักน้ำ การให้น้ำเสียสีเทาแก่พืชโดยผ่านทางท่อน้ำทิ้ง อาจติดตั้งถังพักน้ำ รองรับน้ำทิ้งไว้ก่อน แทนที่จะปล่อยไปสู่ต้นพืชโดยตรง ถังพักน้ำควรอยู่สูงกว่าแปลงพืชผัก เพื่อที่จะสามารถปล่อยน้ำจากถังพักไปยังแปลงพืชผักได้โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก
——————55555555555555555—————