วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ผลการศึกษา พบว่าบุคลากรหน่วยงานกลางของรัฐในการจัดการภัยพิบัติขาดความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการภัยพิบัติ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสำเร็จและการตอบสนองในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งสามารถอธิบายลักษณะที่ไม่เป็นมืออาชีพได้ดังนี้:

ตารางแสดงสถิติการศึกษา

ปัจจัย ค่าเฉลี่ย   SD. ค่าความเชื่อมั่น (Alpha)
ไม่สามารถนำแผนงานสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ 4.8 0.788 0.895
าดการติดตามและวัดผลประสิทธิผลของแผนงาน 4.5 0.756 0.812
ขาดประสิทธิภาพในจัดการความรู้และการสื่อสาร 4.4 0.761 0.876
ขาดการพัฒนาทักษะการเผชิญเหตุที่มีประสิทธิภาพ 4.0 0.729 0.833
าดการเรียนรู้และปรับปรุงแผนงาน 3.8 0.745 0.863
ขาดความร่วมมือและการสนับสนุน 3.6 0.654 0.804

อภิปรายผลการศึกษา

  1. ไม่สามารถนำแผนงานสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ : แม้ว่าจะมีการกำหนดแผนงานไว้อย่างเหมาะสมเพื่อให้การตอบสนองเป็นไปได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีการจัดการประสิทธิภาพในการวางแผน อาจเกิดความไม่มั่นคงในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และอาจส่งผลให้การตอบสนองไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง
  2. ขาดการติดตามและวัดผลประสิทธิผลของแผนงาน: การจัดการประสิทธิภาพเพื่อการจัดการฉุกเฉินต้องมีการติดตามและวัดผลเพื่อประเมินว่าแผนมีทำงานอย่างไร ถ้าขาดการติดตามและวัดผล อาจไม่สามารถรู้ว่ามีปัญหาหรือข้อผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นและต้องปรับปรุง
  3. ขาดประสิทธิภาพในจัดการความรู้และการสื่อสาร: การจัดการภัยพิบัติต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีการสื่อสารที่เข้าใจง่าย หากขาดการจัดการประสิทธิภาพในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการสื่อสารอาจทำให้เกิดความสับสนและส่งผลให้การตัดสินใจมีผลกระทบทางลบเกิดขึ้นได้
  4. ขาดการพัฒนาทักษะการเผชิญเหตุที่มีประสิทธิภาพ : การจัดทีมที่มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญ หากไม่มีการจัดการประสิทธิภาพในการสร้างทีมและการอบรม อาจทำให้ความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติลดลง (ทักษะที่เชี่ยวชาญที่พัฒนาคือการไปสู่การถือถังดับเพลิงไปโชว์กลางที่ชุมนุม และเปิดวาล์วถังก๊าซและจุดไฟให้ชาวบ้านไปดับ  แต่การเผชิญสถานการณ์ขนาดใหญ่กลับสับสนลนลาน  ล่าช้า  ให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบร้ายแรงเป็นส่วนใหญ่)
  5. ขาดการเรียนรู้และปรับปรุงแผนงาน: ประสิทธิภาพสำหรับการจัดการภัยพิบัติต้องเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อให้สามารถปรับปรุงแผนการตอบสนองในอนาคตได้
  6. ขาดความร่วมมือและการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ : การประสานงานและความร่วมมือระหว่างองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการภัยพิบัติ การขาดการจัดการประสิทธิภาพอาจส่งผลให้ขาดความร่วมมือและการสนับสนุนที่จำเป็น