วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การใช้ที่ดินในประเทศไทย มีลักษณะที่เป็น “หมูในอวย” มานานแสนนาน   แต่นับต่อแต่นี้ไป มันจะไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

หากใช้ที่ดินไม่เหมาะสม ถูกต้องตามสภาพดิน  ตามสภาพภูมิประเทศ  ตามสภาพภูมิศาสตร์  ตามสภาพภูมิอากาศ  ใช้ดินเหมือนกับทาส  ที่ไม่มีการบำรุงรักษา  ไม่มีการพัฒนา เราจะได้รับผลกระทบจากการใช้ที่ดินนั้น  ไม่ได้รับประโยชน์อันใดเลย  แม้จะได้รับประโยชน์ส่วนตน  แต่การใช่ที่ดินของตนนั้นจะสร้างผลกระทบต่อส่วนรวม นับต่อแต่นี้ไปจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป  การใช้ที่ดินจะใช้เหมือนลักษระเดิมไม่ได้อีกแล้ว

ถ้าถามว่า การวางผังเมืองที่กำลังจะคลอดกฎหมายออกมาบังคับใช้(แต่ไม่รู้จะเต็มพื้นที่ได้เมื่อไหร่ ถ้าอีก ๓๐ ปี อาจจะสายเกินไปสำหรับสมดุลการใช้) สามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

คำตอบ คือ ไม่ได้แน่นอนครับ….ซึ่งเรื่องนี้  เราวิ่งตามหลังเวียดนาม อยู่ ๓๐ ปี (ประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่น เหมือนเราคือ กัมพูชาและพม่า ที่ใครจะใช้ที่ดินตรงไหนทำอะไรก็ได้  ไม่มีข้อจำกัด มีทางเลี่ยงบาลีได้ และไม่ต้องสนใจว่าแผนหลักในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างไร   นอกนั้น ข้อมูลหลายอย่างบ่งชี้ว่าดีกว่าไทยเราเยอะ)

ข้อบกพร่องของไทยเรา (อ้างอิงจาก : ดร.แสวง รวยสูงเนิน , ฟูกูโอโกะคิดแต่ลุงแหวงลูกชาวนาทำสำเร็จในเมืองไทย ๒๕๕๕) คือ

๑.ไม่มีการกำหนดว่าเราจะใช้พื้นที่ดินในปริมาณและสัดส่วนเท่าไหร่  ใครถือครอง  ใครใช้ได้ผลไม่ได้ผลอย่างไร

๒.ที่ดินที่ไม่เหมาะสม จะต้องพัฒนาปรับปรุง หรืออนุรักษ์ให้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้อย่างไร

๓.มีแผนการใช้ประโยชน์และแก้ปัญหาให้มีผลกระทบต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง

ซึ่งหากมีการดำเนินการตามที่กล่าวมาข้างต้น  เราอาจจะไม่มีสถานการณ์มหาอุทกภัย  ปี ๒๕๕๔  หรือ สภาพความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทุกปี

 

——————————฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿——————————————