การสื่่อสารในช่วงภาวะวิกฤตหรือยู่ในระหว่างก่อนเกิดภัยพิบัติ ช่วงเกิดภัยพิบัติ และช่วงหลังการเกิดภัยพิบัติ จะต้องมีกลยุทธ์ในการสื่อสาร ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาและสร้างความร่วมมือ สนับสนุนการปฏิบัติ
กลยุทธ์ในการดำเนินการ ประกอบด้วยขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
๑. การวิเคราะห์สถานการณ์
๒. กำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ประสบภัย สร้างอิทธิพลทางความคิดใหม่ให้แก่ผู้ประสบภัย ชี้แจงหรือการปกป้อง ความน่าเชื่อถือผลลัพธ์ที่คาดหวัง ได้แก่ เกิดการรับรู้ เกิดความรู้ เกิดการยอมรับ เกิดความพึงพอใจ เกิดความเชื่อมั่น เกิดการกระทำ/พฤติกรรมใหม่ และเกิดการเปลี่ยนทัศนคติ
๓. วิเคราะห์กลุ่มเป้า่หมาย แยกแยะให้ชัดเจนว่าใครที่จะต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ไม่เร่งด่วน เพื่อลดการสูญเสียเวลาและทรัพยากร
๔. กำหนดเนื้อหาในการสื่อสาร จะต้องแจ้งบริบท วิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ ผลดี/ผลกระทบด้านต่างๆ จุดยืนต่างๆ
๕. เลือกสื่อและกิจกรรมที่จะใช้ในการสื่อสาร จะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้มีความครอบคลุม มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความต่อเนื่อง
๖. กำหนดงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ
๗. ติดตามประเมินผลการสื่อสาร
————————————฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿———————————————–