การที่จะก่อการรัฐประหารขึ้นได้ จะต้องมีกระแสใส่ร้ายนักการเมืองให้ประชาชนเห็นภาพความเลวร้าย ถ้าไม่มีก็ต้องสร้างเรื่องใส่ความให้สามารถเอาผิดตามกฎหมายได้ เป็นแนวคิดปกครองของสำนักขุนเขานครนายก แต่ถ้าเป็นแนวความคิดของสำนักคลองหลอดสู่เวิ้งเจ้าพระยา ก็จะเป็นการใส่ความประชาชนผู้เสียภาษีให้เป็นผู้โง่เขลา สันดานไม่ดี ไม่มีความรู้ มีแต่ความหลงผิด การจัดทำโครงการพัฒนาของพวกเขาจึงไม่ได้นำข้อมูลจากประชาชนเป็นทรัพยากรอันมีค่าสำหรับการออกแบบและการดำเนินโครงการและนโยบายต่างๆ แนวปฏิบัตินี้มักเรียกกันว่า “การมีส่วนร่วมของพลเมือง” หรือ “ธรรมาภิบาลแบบมีส่วนร่วม” แนวคิดเบื้องหลังแนวทางนี้คือการรวมมุมมองและข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง
ถ้าจะแย้งว่า แลัวข้อมูลความต้องการกำจัดความขาดแคลน ข้อมูลความเดือดร้อนของประชาชน ที่บริษัท ปภ.จำกัดจัดเก็บรวบรวมไม่ใช่ข้อมูลจากประชาชนหรา คำตอบคือ เป็นข้อมูลที่มาจากประชาชนแต่ไม่ใช่ข้อมูลตามแนวปฏิบัติ “การมีส่วนร่วมของพลเมือง” หรือ “ธรรมาภิบาลแบบมีส่วนร่วม” การใช้ข้อมูลที่ไม่ใช่มาจากแนวปฏิบัติ “การมีส่วนร่วมของพลเมือง” หรือ “ธรรมาภิบาลแบบมีส่วนร่วม” ถือได้ว่า “ประชาชนประสบภัยพิบัติแฝง” หรือ “โดนกระทีบซ้ำ”
วิธีรวบรวมข้อมูลจากพลเมือง คือ ผ่านการปรึกษาหารือหรือการสำรวจสาธารณะ สิ่งเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการประชุม การสำรวจออนไลน์ การสนทนากลุ่ม หรือวิธีการอื่นเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและแนวคิดจากประชาชนที่หลากหลาย ผลตอบรับที่รวบรวมไว้ สามารถมีอิทธิพลหรือต้องนำมาออกแบบโครงการ การวางแผน และการดำเนินโครงการของรัฐ
ตัวอย่างของประเทศที่ได้ดำเนินการมีส่วนร่วมของพลเมืองในโครงการของรัฐ ได้แก่:
- บราซิล : เมืองปอร์ตูอาเลเกรในบราซิลเป็นผู้บุกเบิกด้านงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการตัดสินใจว่าจะจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งของเมืองให้กับโครงการและโครงการริเริ่มต่างๆ อย่างไร
- เกาหลีใต้ : รัฐบาลเกาหลีใต้เปิดตัวแพลตฟอร์ม “e-People” ซึ่งช่วยให้ประชาชนสามารถแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอนโยบายและโครงการของรัฐบาลต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาพิจารณาในระหว่างกระบวนการตัดสินใจ
- อินเดีย : อินเดียได้เปิดตัวโครงการริเริ่มการมีส่วนร่วมของพลเมืองต่างๆ เช่น “MyGov” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเสนอแนวคิดและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและโครงการต่างๆ ของรัฐบาล
- สหรัฐอเมริกา : รัฐและเมืองหลายแห่งในสหรัฐฯ จัดประชาพิจารณ์และเวทีสนทนาเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับโครงการในท้องถิ่น เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การวางผังเมือง และอื่นๆ