การบริหารจัดการภัยพิบัติ นอกจากต้องใส่ใจกับชุมชนที่มีความเปราะบางทางกายภาพแล้ว ชุมชนที่มีปัญหาถูกกีดกันทางสังคมก็ควรที่จะต้องรับการเอาใจใส่ด้วยเช่นกัน (ปัจจุบันปี พ.ศ. 2566 หน่วยงานกลางด้านสาธาณภัยของรัฐไทยนำแผนงาน/โครงการเข้าชุมชนที่มีความเปราะบางทางกายภาพเป็นจำนวนมาก โดยพิจารณาจากการดูสถิติภัยพิบัติย้อนหลัง ที่มีแนวโน้มที่จะประสบภัยสูงทุกชุมชนแล้ว แต่เนื่องจากการการตั้งงบประมาณไม่ใช่การตั้งงบประมาณแบบฐานศูนย์ หน่วยงานกลางด้านสาธารณภัยของรัฐไทยยังพยายามตะบันน้ำกินต่อไป นำแผนงาน/โครงการเข้าชุมชนจากสถิติภัยพิบัติตำ่ และอาจเป็นสถิติทิพย์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการจัดการภัยพิบัติเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว)
การให้ความช่วยเหลือด้วยความเป็นธรรม ไม่ใช่สักแต่ให้เกิดความเท่าเทียมพอให้เหตุการณ์ความทุกข์ยากผ่านพ้นไป ตาม ส.ด.ของเจ้าหน้าที่รัฐราชการปรสิต แม้ตามการดำเนินการด้านเงินงบประมาณอาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ในขณะนี้ ด้วยยังไม่มีระเบียบกฎหมายให้ความช่วยเหลือที่เป็นตัวเงิน แต่สามารถใส่ใจในการนำเข้าโครงการแผนงานที่ช่วยชุมชนที่มีปัญหาถูกกีดกันทางสังคมสร้างศักยภาพสร้างความสามารถให้พอจะเผชิญภัยพิบัติได้อย่างไม่ต้องทุกข์ยากลำบากนักได้
ชุมชนที่เกิดการกีดกันทางสังคมขึ้น คือ ชุมชนที่กลุ่มคนบางกลุ่มถูกแยกออกจากชุมชนเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น สถานะทางเศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ ศาสนา หรือลักษณะทางสังคมอื่นๆ เนื่องจาก ชุมชนดังกล่าวเผชิญกับความยากลำบากทั้งในด้านการศึกษา การจ้างงาน การดูแลสุขภาพ และคุณภาพชีวิตโดยรวม
ลักษณะการกีดกันทางสังคมในยามประสบภัยพิบัติ
1.เกิดการแบ่งแยกภายในชุมชนขึ้น เกิดความแตกต่างภายในชุมชนขึ้น
2.ชุมชนมีปัญหาการเข้าถึงทรัพยากร โอกาส และการได้รับบริการที่ไม่เท่าเทียมกัน
3.ปฏิสัมพันธ์และการ บูรณาการที่จำกัดระหว่างกลุ่มต่างๆ เกิดความเข้าใจผิด เกิดการเหมารวม
แนวทางการจัดการกับปัญหาการกีดกันทางสังคมยามภัยพิบัติ
1.การแบ่งแยกทางสังคม ต้องดำเนินการส่งเสริมการไม่แบ่งแยกความหลากหลาย
2.การเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกัน ต้องมีระบบการประสานบูรณาการระหว่างรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้นำชุมชนทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินนโยบายและโครงการที่ส่งเสริมการบูรณาการ ปรับปรุงการเข้าถึงบริการ และลดการเลือกปฏิบัติ
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการแบ่งแยกทางสังคมเป็นประเด็นที่ซับซ้อนซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง แต่ละกรณีมีเอกลักษณ์เฉพาะ และการทำความเข้าใจบริบทเฉพาะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมความสามัคคีทางสังคมและลดการแบ่งแยกภายในชุมชน