วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สภาพอากาศที่เกิดขึ้น ณ เวลาและสถานที่ต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมชีวิตความเป็นอยู่ของคนและสังคม เช่น ฝนตก น้ำท่วม อากาศร้อนจัดหนาวจัด เป็นต้น ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นกับความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ (risk) ความอ่อนไหว (sensitivity) และศักยภาพในการตอบสนองหรือรับมือต่อเหตุการณ์ (coping capacity)

ปัจเจกบุคคลและครัวเรือนที่เป็นสมาชิกในชุมชนนั้นๆ แต่ละรายก็จะมีความเปราะบาง (vulnerability) ต่อลักษณะอากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากขีดความสามารถในการรับมือที่แตกต่างกันซึ่งเป็นปัจจัยเฉพาะตัวหรือเฉพาะครัวเรือน การปรับการรับมือที่ระดับบุคคลหรือระดับครัวเรือนมักจะเป็นการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสูงต่อการตอบสนองต่อลักษณะอากาศ

ความเปราะบาง (vulnerability) ของภาคส่วน (sector) หรือระบบ (system) ทางเศรษฐกิจ สังคมหรือนิเวศใดๆ จะขึ้นกับ 3 ปัจจัย

ความเสี่ยง (risk) คือโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่ลักษณะอากาศในอนาคตของพื้นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงขนาดหรือรูปแบบความแปรปรวนไปจากในปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยที่ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนี้อาจจะประมาณจากการใช้โมเดลทางภูมิอากาศ หรืออาจจะอนุมานจากความรู้ประสบการณ์ในรูปแบบอื่นๆ ก็ได้ในการคาดเดาว่าตัวแปร (variable) ทางอุตุนิยมวิทยา และตัวแปรทางกายภาพชีวภาพอื่นๆ ของระบบนิเวศจะเป็นอย่างไร ในอนาคต

ความอ่อนไหว (sensitivity) ได้แก่รูปแบบและขนาดของความเกี่ยวพันระหว่างภาคส่วนหรือระบบเชิงนิเวศหรือเชิงสังคม ต่อตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาและตัวแปรทางกายภาพชีวภาพ เช่น ผลผลิตข้าวจะสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของอุณหภูมิ ปริมาณฝน ความเข้มแสง ฯลฯ ของฤดูกาลผลิต เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมในอนาคตเนื่องจากเงื่อนไขอื่นๆ อีกด้วย

ศักยภาพในการรับมือ (coping capacity) ซึ่งถูกกำหนดโดยปัจจัยภายในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความหลากหลายทางนิเวศ ฯลฯ และปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายระดับชาติ ทุน สินเชื่อ เครือข่าย ความรู้และโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะทำให้รูปแบบของลักษณะอากาศของพื้นที่ในอนาคตมีความแตกต่างไปจากในปัจจุบัน เช่น ในแง่ของความเฉลี่ย ความถี่และช่วงกว้างของความแปรปรวนเชิงเวลาและสถานที่ โดยสำหรับประเทศไทยภาพความเปลี่ยนแปลงน่าจะเริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนในอีก 20-30 ปี ข้างหน้า ซึ่งอาจจะทำให้มาตรการ/ปัจจัย เพื่อการรับมือทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนที่สามารถลดความเปราะบางต่อลักษณะอากาศและภูมิอากาศในปัจจุบันอาจจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างไปในอนาคตถ้าภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน

นอกจากนี้เงื่อนไขการพัฒนาและบริบททางเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ของประเทศหรือแม้แต่ของโลกในอนาคตก็จะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อประสิทธิผลของมาตรการรับมือต่างๆ ของชุมชนอย่างมาก

การรับมือเพื่อลดความเปราะบางของชุมชนต่อภูมิอากาศมักจะเป็นกิจกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับคนส่วนใหญ่หรือครัวเรือนจำนวนมากในชุมชนนั้น หรือเป็นแนวทางร่วมกันเพื่อเสริมให้การรับมืออย่างมีประสิทธิภาพหรือคุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์มากขึ้น

ขณะเดียวกันการปรับตัวที่สอดคล้องกับภูมิอากาศก็อาจจะไม่สอดคล้องกับลักษณะของชุมชนในปัจจุบัน ดังนั้นการปรับตัวระดับปัจเจกเพื่อรับมือกับลักษณะอากาศ และการปรับตัวแบบองค์รวมของชุมชนเพื่อรับมือกับภูมิอากาศจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการศึกษาในแต่ละพื้นที่แต่ละชุมชน

องค์ความรู้ดั้งเดิมของท้องถิ่นจะสอดคล้องกับภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบวิธีการก่อสร้าง ผังเมือง เทคโนโลยี อาชีพ วิถีชีวิต การเพาะปลูก วัฒนธรรม การกินอยู่และการแต่งกาย เป็นต้น ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ลักษณะสภาพของท้องถิ่นมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบางส่วนเป็นความจำเป็นทางเศรษฐกิจ แต่บางส่วนก็เป็นไปเพราะความละเลยหรือไม่ตระหนักไม่ใส่ใจหรือหลักการดั้งเดิม จึงทำให้องค์ความรู้จำนวนมากสูญหายหรือเปลี่ยนไป ส่งผลให้วิถีชีวิต ค่านิยมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในสังคมในปัจจุบันจึงมีแนวโน้มที่จะเบี่ยงเบนออกไปจากความสอดคล้องกับภูมิอากาศ

เปราะบางและมีวิธีการรับมือกับลักษณะอากาศที่มากระทบย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งถ้าไม่มีการจัดการหรือประสานที่เหมาะสมแล้ว มาตรการหรือวิธีการรับมือของบางรายบางกลุ่ม ดังนั้นการรับมือในระดับปัจเจกจึงควรที่จะมีการจัดการ

นอกจากนี้มาตรการระดับชุมชนที่ตอบสนองต่อลักษณะอากาศได้ดีในภาพรวมนั้น ก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะดีกับสมาชิกทุกรายในชุมชนนั้น แต่อาจจะถึงกับส่งผลเชิงลบต่อสมาชิกบางรายก็ได้ ซึ่งก็อาจจะต้องมีมาตรการบรรเทาหรือชดเชยที่เหมาะสมเป็นธรรมอีกด้วย

เรื่องโดยนุศจี ทวีวงศ์

ข้อมูลจากเอกสาร การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการรับมือกับลักษณะอากาศและสอดคล้องกับภูมิอากาศของท้องถิ่น