อุทกภัยและภัยแล้ง ความรุนแรงจากผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยและภัยแล้ง ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมีสาเหตุมาจากการใช้ดินที่ไม่เหมาะสม ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่อนุรักษ์สภาพดิน
ลักษณะทางกายภาพของดินที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง มีดังนี้
1.ปัญหาความแข็งตัว ดินที่ผ่านการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวมานาน การใช้พื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย การใช้ประโยชน์อื่น เช่นสวนสาธารณะ วัด โรงเรียน ทำให้ดินมีโครงสร้างอนุภาคเกาะตัวกันแน่น มีความแข็งตัวมาก ทำให้น้ำซึมผ่านได้ยาก การถ่ายเทอุณหภูมิต่ำ ทำให้ผิวหน้ามีอุณหภูมิสูง
2.การกระจายของขนาดอนุภาคดิน ดินไม่มีการกระจายตัว เบียดอัดกันแน่นมากขึ้น จากการขาดต้นพืชขนาดใหญ่ที่มีจำนวนน้อยลง และขาดสัตว์ในดินขนาดเล็กๆ กาซคาร์บอนไดออกไซด์หรือกาซอื่นก็ซึมผ่านดินได้น้อยลง ส่วนใหญ่จะลอยขึ้นสะสมในบรรยากาศ กล่าวคือการกมุนเวียนกาซต่างของพืชและสัตว์น้อยลง ทำให้ในโครงสร้างดินขาดอากาศและน้ำ
3.ความแห้งแล้งของหน้าดิน ซึ่งมาจากปัญหาข้อ 1 และข้อ 2
4.น้ำท่วมขัง(แทนที่จะซึมผ่านได้ดี)
5.อุณหภูมิสูงทำให้อุณหภูมิบริเวณรอบๆสูงผิดปกติและน้ำที่ผิวดินระเหยไปได้ง่ายได้เร็วขึ้น
6.เสถียรภาพของหน้าดินต่ำทำให้ดินถล่มหรือไหลพัดพาไปอุดตันทางไหลของน้ำมากขึ้น
จากปัจจัยดังกล่าวมาข้างต้น ดินไม่ได้ช่วยบรรเทาผลกระทบอุทกภัยและภัยแล้งอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกต่อไปแล้ว อีกทั้งทำให้น้ำไม่สามารถซึมลงไปเป็นน้ำใต้ดินได้อีกด้วย
——————————–555555—————————