วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น จนก่อให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินหรือในภาวะวิกฤตที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ระดับจังหวัด  จะต้องดำเนินการในภาวะวิกฤต ดังนี้

๑. ภายใน ๑๒ ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน ๒ ด้าน

ด้านแรก การติดตามภารกิจของหน่วยงานต่างๆ

ด้านที่สอง ระบบโลจิสติกส์

๒. ภายใน  ๒๔ ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน ๒ ด้าน

ด้านแรก ซักซ้อมความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่บุคลากรในหน่วยงานต่างๆ

ด้านที่สอง ประสิทธิผล โดยยึดหลักที่สำคัญ ๒ ประการ คือ ประสิทธิภาพและการลดผลกระทบ

๓. ภายใน ๓๖  ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน ๒ ด้าน

ด้านแรก การประเมินข้อบกพร่อง ข้อขัดข้อง ความล้มเหลวหรือความผิดพลาด(Failure Mode  and Effect Analysis(FMEA)) ..

ใน ๒ ประเภท คือ Design FMEA และ Process FMEA

ด้านที่สอง ศักยภาพการใช้ Statistical process control(SPC) เพื่อติดตามควบคุมและออกแบบกระบวนการทำงานใหม่

จากปัจจัยที่เป็น Common Causes  และ Special Causes

๔. ภายใน ๔๘ ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน ๒ ด้าน

ด้านแรก  ห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain) เพื่อให้เกิดคุณภาพ สร้างคุณค่าจากการสอดประสานดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ

ด้านที่สอง  การวางกลยุทธ์ Outsourcing เพื่อสนับสนุนห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain)

๕.ภายใน ๓ วันแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน ๒ ด้าน

ด้านแรก  การวางกลยุทธ์ Poka-Yoke เพื่อทำให้ข้อผิดพลาดในกระบวนการบริหารจัดการไม่มีวันเกิดขึ้น  หรือถ้าหากเกิดขึ้นก็สามารถสังเกตุเห็นได้ทันที

ด้านที่สอง  ศักยภาพการใช้  Seven Quality Control Tools เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการของผู้อำนวยการจังหวัด

๖.หลังจากนั้น จะยังคงปฏิบัติการจนกว่าผู้อำนวยการจังหวัดเชื่อมั่นได้ว่าไม่มีช่องว่างใดเกิดขึ้น

—————————————-55555———————————————-