วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

Greenwashing หมายถึง แนวทางปฏิบัติทางการตลาดที่หลอกลวง ซึ่งบริษัท หรือรัฐราชการปรสิตกล่าวอ้างว่าการดำเนินงานของตนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือยั่งยืนเพื่อดึงดูดผู้บริโภคหรือปรับปรุงภาพลักษณ์สาธารณะของตน ผลกระทบของ Greenwashing ทำให้การหมักหมมต้นเหตุของปัญหาภัยพิบัติ ซึ่งลักษณะที่หลอกลวงและผลกระทบ มีดังนี้

  1. เบี่ยงเบนความสนใจจากวิธีแก้ปัญหาที่แท้จริง : Greenwashing สามารถหันเหความสนใจไปจากการจัดการข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ทำให้การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติไม่ตรงกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น แทนที่จะใช้มาตรการที่มีประสิทธิผล ความพยายามอาจมุ่งเน้นไปประเด็นที่ผิวเผิน  การสังเกตุถึงการเบี่ยงเบนของพวกเขา ดูได้จากเว็บไซต์หน่วยงานในส่วนราชการภูมิภาคของบริษัท ปภ.จำกัด หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข่าวประชาสัมพันธ์ของพวกเขาร้อยละ 95 จะเป็นการเบี่ยงเบนทั้งสิ้น
  2. บ่อนทำลายความไว้วางใจ : เมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถูกหลอกโดยการ Greenwashing มันจะขัดขวางความพยายามร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ
  3. ความล่าช้าในการดำเนินการ :  Greenwashing จะชะลอการดำเนินการตามขั้นตอนที่มีความหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือปรับปรุงความสามารถในการฟื้นตัวจากภัยพิบัติ ซึ่งอาจส่งผลให้ปัญหาภัยพิบัติรุนแรงขึ้นได้
  4. โอกาสที่พลาดไป : Greenwashing จะทำให้การจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่ถูกต้อง พลาดโอกาสในการลงทุนในแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงและกลยุทธ์การบรรเทาภัยพิบัติที่ดี

 

Search