คำว่า “การฟอกเขียว” เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 – 2533 ที่ซึ่งเป็นช่วงที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติและวิกฤตสภาพภูมิอากาศเริ่มเข้ามาเป็นประเด็นถกเถียงกระแสหลัก ทำให้หน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไม่อาจรับมือกับประเด็นถกเถียงในสังคมได้
เมื่อมีประเทศมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นโดยเฉพาะในปี พ.ศ.2545 วัฒนธรรมการทำงานแบบฟอกเขียวได้ถูกยึดหลักในการสร้างขยายองค์กรเรื่อยมา
เพื่อให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมการทำงานดังกล่าว พอจะอธิบายได้โดยสังเขป ดังนี้
- กำหนดภารกิจ อำนาจ หน้าที่ที่ทำให้เข้าใจผิด : จัดทำเอกสารทางการที่กำหนดว่าองค์กรของตนจะรับผิดชอบในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างครอบคลุม ครบถ้วน แต่บริบทความจริงนั้น ผลผลิตที่เกิดจากการทำงานทำได้แค่การตั้งรับเอาหน้า การทำงานเชิงรุกแบบหลอกลวงบิดเบือน ประชาชนต้องออกแรงหาที่พึ่งเอาเอง ลำพังพรรคพวกหน่วยงานของรัฐในรัฐราชการปรสิตไม่สามารถพึ่งพาได้ แม้องค์กรอิสระเองก็พึ่งพาได้ยาก
- สร้างเป้าหมาย หรือสร้างผลผลิตองค์กรที่คลุมเครือ : ด้วยการใช้ถ้อยคำบิดเบือนในขอใช้งบประมาณ การบิดเบือนข้อเท็จจริงความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ รวมถึงกำหนดเป้าหมายที่วัดได้และตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัยหรือสภาพข้อเท็จจริง เพื่อติดตามความคืบหน้า ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถแสดงผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างบิดเบือน
- การนำเสนอองค์กร : รวบรวมและนำเสนอข้อมูลและหลักฐานที่สนับสนุนความยั่งยืนของภารกิจ ซึ่งอาจรวมถึงเรื่องราวความสำเร็จ การประเมินผลกระทบ และสถิติที่เกี่ยวข้อง ที่เน้นด้านบวกเพียงด้านเดียว ไม่มีการเปรียบเทียบกับบริบทข้อเท็จจริง ไม่มีการรายงานผลกระทบขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงแสดงให้เห็นถึงการแสวงหาแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรอย่างต่อเนื่องในการบรรลุภารกิจองค์กร
- การขาดความโปร่งใส : โดยการไม่สามารถให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน หรือถ้าหากมีข้อมูลที่ละเอียดหรือมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็จะซ่อนแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน
- สร้างภาพลวงตาของความยั่งยืน : มีแผนงานที่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในภารกิจ มีส่วนร่วมกับชุมชน ผู้บริจาค และอาสาสมัครเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ และเพิ่มความมุ่งมั่นในการเข้ามามีส่วนร่วม
- หันเหความสนใจประชาชน: บางครั้งรัฐราชการปรสิต สามารถทำได้แค่ส่งเสริมแง่มุมเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นการสร้างความพึงพอใจเฉพาะหน้าให้กับประชาชน เพื่อหันเหความสนใจจากแนวทางปฏิบัติที่ใหญ่กว่าและยั่งยืนกว่า