วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

วัฒนธรรมในที่นี้จะไม่ใช่วัฒนธรรมการทำตามหน้าที่ไปวันหนึ่งๆ(แม้มันจะเป็นวัฒนธรรม  ในที่นี้ขอยกเว้น)  ภัยพิบัติจำเป็นต้องมีกระบวนการ แบบแผนการปฏิบัติของมนุษย์ที่จะสามารถลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ คือ

๑ มีวัฒนธรรมในการตื่นรู้

ลักษณะที่บ่งชี้วัฒนธรรม คือ  มีการปรับตัวสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อม  ได้อย่างมีคุณภาพ

ซึ่งการจะปรับตัวได้ตามที่กล่าวจะต้องมีการตื่นตัวที่จะเรียนรู้  มีความไว มีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะตอบสนองต่อสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลง

จากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน  และที่สำคัญที่สุดคือ การมีความสุขอยู่กับการมีความฝันอันยิ่งใหญ่ กับสภาพแห่งความสำเร็จในอนาคต(วิสัยทัศน์)

๒. มีวัฒนธรรมอัจฉริยะ

ลักษณะที่บ่งชี้วัฒนธรรม คือ  ความสามารถในการเผชิญกับสภาพอนาคตที่ไม่แน่นอนได้ โดยพื้นฐานการจัดการเชิงบวก

และไม่เริ่มจากศูนย์ต้องเริ่มจากประสบการณ์ของบรรพบุรุษ/คนเดิมเสมอ ให้คนทำงานสามารถลองผิดลองถูกได้เอง

และทำให้คนทำงานได้เป็นผู้นำตัวเล็กๆ กล้าคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงานของตนอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนทำงานมีความสุข

การเสาะResources ซึ่งก็คือ ทรัพยากรทางปัญญา Intellectual Capital (IC)  มีและใช้ ระบบบันทึก ขุม/คลัง ความรู้

และคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เกิดสารสนเทศใหม่ ก่อให้เกิดทางเลือกที่หลากหลาย ฉลาดเลือกและฉลาดทำ