ยุคสมัยของภัยพิบัติ “ภัยพิบัติ” แบ่งได้ 5 ยุคสมัย ซึ่งปัจจุบันปี พ.ศ.2567 เราอยู่ในช่วงยุคที่ 3 ช่วงปลาย กำลังเดินเข้าสู่ยุคที่ 4
1.ยุคแรกเริ่ม
มาจากการให้ความหมายภัยพิบัติจากลักษณะการดำรงชีวิต เกิดการสูญเสียผลผลิต หรือได้รับความอดอยาก ที่อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยความโชคร้าย เป็นเวรเป็นกรรมที่ผูกพันมาจากอดีตหรือการขาดการคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
2.ยุคเพิ่มมุมมองด้านความเสี่ยง หรือยุคเริ่มต้นแนวคิดการป้องกัน (เริ่มวางนิสัยแพะ)
เมื่อปรากฎการณ์ที่ชีวิตได้รับอันตรายเพิ่มขึ้น ทำลายเมือง ผู้คนเสียชีวิตนับหมื่นคน นอกเหนือจากผลผลิตเสียหาย หรือความอดอยาก ด้วยการได้รับรู้ถึงการทำลายล้าง ความโกลาหล และความทุกข์ระทม ความสิ้นหวังในชีวิต จึงตระหนักรู้ในตนเองว่าชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอน จากพลังซ่อนเร้นนานาประการ กระตุ้นให้เกิดการปฏิเสธสาเหตุเหนือธรรมชาติที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติ เริ่มมีการคิดค้นกระบวนการสอบสวน แสวงหาคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภัยพิบัติ
3.ยุคโหมกระพือความรุนแรงภัยพิบัติจากภัยพิบัติทางการเมือง ภายใต้ความจำเป็นในการควบคุมธรรมชาติที่กบฏ
เมื่อมนุษย์ได้มีกระบวนการดำเนินชีวิตในโลกกายภาพในหลายๆด้านมากยิ่งขึ้น มีความรู้สึกว่าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีความเหนือกว่าหลักและเหตุเดิม หรือโชคราง ความเชื่อเดิมๆ การพัฒนาโลกกายภาพเห็นผลชัดเจนกว่า ยุคนี้ แนวความคิด “ภัยพิบัติไม่ได้เกิดจากพระเจ้า ภูตผี ปีศาสจ หรือไม่ใช่การกระทำของธรรมชาติทั้งหมด แต่เกิดจากนำ้มือของมนุษย์ส่วนหนึ่ง” อีกทั้งระบบการเมืองได้รับการพัฒนาให้ความต้องการ/เป้าหมายสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
4.ยุคเพิ่มมุมมองด้านความยั่งยืน
เป็นยุคที่มีการขับเคลื่อน/ต่อสู้ทางปรัชญาที่เกิดจากแรงบันดาลใจ หรือในความวิตกกังวลที่เกิดจากการทำลายล้าง และตระหนักได้ว่าภัยพิบัติที่ไม่สามารถควบคุมได้มักจะคุกคามระเบียบอันเปราะบางที่มนุษย์ได้สร้างไว้อีกทั้งยังตระหนักว่า สังคมขาดการมองการณ์ไกล
5.ยุคแห่งการตรัสรู้
เป็นยุคที่มนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาให้สามารถกำจัดด้านมืดของความทันสมัยให้หมดสิ้นไป ทุกสิ่งถูกอาบหรือสาดส่องด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล และความรู้ความเข้าใจระดับควอนตัม