ในยามวิกฤต การช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างเร่งด่วนภายใน ๒๐ นาที จะเป็นคนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ดังนั้น ถ้าจะให้การช่วยเหลือระหว่างกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องร่วมกัน ดำเนินการ ดังนี้
๑. ปฏิรูปทักษะการดำเนินชีวิต ให้เป็นวิถีชีวิตที่ปลอดภัย เช่น การรู้จักประยุกต์สิ่งต่างๆรอบตัวให้เป็นประโยชน์ ทักษะการช่วยเหลือตนเองให้รอดตาย
๒. สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้มีขึ้นในชุมชน เพื่อควบคุม กำกับ ปรับทิศทางของชุมชนให้เป็นไปในหลักการที่ดี เช่น เศรษฐกิจพอเพียง ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงในชีวิต
๓. พัฒนาเครือข่ายที่เกิดขึ้นให้เข้าสู่ระบบ ๒ ระบบ คือ
๓.๑ ระบบการช่วยเหลือทางสังคม รูปแบบต่างๆ ตามบริบทของชุมชน เช่น การจัดตั้งศูนย์พักพิง การฟื้นฟูบูรณะ การช่วยเหลือที่เป็นเงิน
๓.๒ ระบบการบริหารจัดการเชิงรุก รูปแบบต่างๆ ตามบริบทของชุมชน เช่น
-ระบบข้อมูล(แผนที่เดินชุมชน ผังเครือญาติ ผังหน่วยงานสนับสนุนช่วยเหลือ เป็นต้น)
-ระบบข้อมูลการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ
-ระบบการติดต่อสื่อสาร
-ระบบการจัดหา จัดสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งก่อสร้าง
-ระบบการพัฒนาคนในชุมชน