การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนที่ดำเนินการในประเทศไทย เป็นแนวทางที่ภาครัฐจะต้องส่งเสริมชุมชนให้ดำเนินการอย่างสมำ่่เสมอต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบที่ยั่งยืน โดยมีแนวทางการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
๑. จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันภัยพิบัติระดับตำบล โดยมีนายก อปท. เป็นผู้อำนวยการ
๒. จัดตั้งกองทุนภัยพิบัติระดับตำบล
๓. ชุมชนจะต้องมีแผนที่เดินดิน (ประกอบด้วยข้อมูลภูมิประเทศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งน้ำ ลักษณะพื้นที่ พื้นที่เสี่ยงได้รับภัยพิบัติ เป็นต้น)
๔. มีระบบติดตามข้อมูล การเฝ้าระวังภัยพิบัติและการแจ้งเตือนภัย
๕. มีกลุ่มอาสาสมัคร/จิตอาสา
๖.จัดสร้างหรือปรับปรุงอาคารสาธารณะที่มีในชุมชนให้สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์พักพิงได้ในยามวิกฤต
๗.มีป้ายสัญญาณเตือนภัยในชุมชนและแผนที่การอพยพ
๘.มีการซักซ้อมร่วมกันเป็นระยะๆ หรือมีการประชาสัมพันธ์อย่างสมำ่เสมอและมีประสิทธิภาพ
ข้อคิดเห็น
ทั้งหมดทั้งมวลตามข้อ 1-8 ยังไม่สามารถแปลงปัญหาให้เป็นปัญญาของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปธรรมที่ปรากฎยังเป็นการดำเนินไปตามชะตากรรมหรือยถากรรม