วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความเมื่อยล้าจากการทำงาน จะเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่นำไปสู่หายนะใหญ่หลวงแก่ตนเองและผู้อื่น  ถึงแม้ว่าคนที่ทำงานเป็นกะถาวรจะมีการปรับตัว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติอยู่ดี  โดยคนที่อยู่ในข่ายมีความเสี่ยง  ได้แก่

1.ผู้ที่ทำงานเป็นกะ จะเพิ่มความเสี่ยงเมื่อ

1.1 กะวันติดต่อกันหลายๆ วัน

1.2 กะกลางคืนติดต่อกันหลายๆ คืน

1.3 กะชั่วโมงปฏิบัติงานติดต่อกันเกิน 8 ชม. หลายๆ กะ

2.ผู้ที่ต้องปฏิบัติกิจกรรมในเวลาปกติที่จะต้องพักผ่อน

3.ผู้ที่โหมทำงานหนักกว่าช่วงทำงานปกติ

การคํานวณค่าความล้า

ดัชนีความเหนื่อยล้า แสดงเป็นค่าความน่าจะเป็นโดยเฉลี่ย คณู ด้วย 100 ของคะแนนสูงสุด(โดยเฉพาะค่า 8 หรือ 9 ตามมาตราวัดความง่วงนอนของ Karolinska (KSS)) ดังนั้น  จึงใช้ค่าระหว่าง 0 ถึง 100 KSS เป็นระดับเก้าจุด      ตั้งแต่หนี่ง (ตื่นตัวมาก)  ถึงเก้า (ง่วงนอนมาก – สู้กับการนอนหลับ)

ดัชนีความเสี่ยง

ความเสี่ยงจะถูกเฉลี่ยตลอดกะงานทั้งหมด

ระดับหนี่งแสดงถึงความเสี่ยงโดยเฉลี่ยในตารางปกติสองวัน สองคืน หยุดสี่วัน (กะละ 12 ชม.)

ค่าสองแสดงถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

การฟื้นตัวหลังจากปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลานาน

การฟื้นตัว 1 วัน นั้นไม่เพียงพอ ถ้าเกินพื้นฐานการฟื้นตัวที่ทํางานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. 5 วันต่อสัปดาห์โดยมีวันหยุดสองวัน จะสามารถกู้คืนเสร็จสมบูรณ์ใน 1 วันแรก

และต้องใชเ้วลาพักฟื้น 3-4 วัน หลังจากทํางาน 12 ชม./วัน เป็นเวลา 12 วันติดต่อกัน

Search