วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เมื่อสภาพที่ต้องทนทุกข์หรือเผชิญหน้าต่อสู้กับภัยพิบัติในระยะเวลา ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป  เพศภาวะจะมีความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นหากมีการบริหารจัดการแบบเสื้อโหลหรือแบบโง่เขลา โดยปราศจากการคำนึง เรื่องต่อไปนี้

1.ข้อกังวลทางเพศ ที่ขาดธรรมาภิบาล

1.1 มุมมองในการบริหารจัดการในช่วงต่อสู้กับภัยพิบัติ  ผู้หญิงยังคงถูกผลักให้จมปลักอยู่กับการผลิตซ้ำในด้านต่างๆ เท่านั้น เช่น ฝ่ายรักษาพยาบาล ฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายรักษาพยาบาล ฝ่ายสถานที่สงเคราะห์และฝ่ายสารวจข้อมูล ฯลฯ   ขาดการมีส่วนร่วมหรือมีส่วนร่วมน้อยในงานด้านฝ่ายการอพยพและเคลื่อนย้าย ฝ่ายแจ้งเตือนภัยและประชาสัมพันธ์ และฝ่ายรักษาความปลอดภัย

1.2 ตั้งกรอบให้อยู่ในบริเวณที่มีงานที่มีความเสี่ยงต่ำ

2.มุมมองทางด้านการพัฒนาป้องกัน และการฟื้นฟู

2.1  การป้องกัน

เพศหญิง จะสามารถให้การนำเสนอประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ และการดูแลความปลอดภัยและความเป็นอยู่แก่สมาชิกในชุมชนได้ดีกว่าผู้ชาย

เพศชายมักจะมีบทบาทในการตัดสินใจย้ายข้าวของ  เฝ้าระวังระดับน้ำ ออกไปช่วยเพื่อนบ้านใกล้เคียง

2.2 การฟื้นฟู

เพศหญิงและเพศชาย มักจะมีบทบาทคล้ายคลึงกันหรือเท่าเทียมกันในช่วงการฟื้นฟู โดยจะสำรวจและซ่อมแซมความเสียหาย  ดูแลความสะอาดเรียบร้อยภายในบ้าน  ติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากเทศบาล เป็นต้น

Search