วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ประเภทของสาธารณภัย  แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ คือ แบ่งตามลักษณะการเกิด  แบ่งตามสถานการณ์  และแบ่งตามลำดับการเกิด

1.การแบ่งตามลักษณะการเกิด

แบ่งได้ 2 ประเภท คือ สาธารณภัยเกิดตามธรรมชาติและสาธารณภัยที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้น

ก. สาธารณภัยเกิดตามธรรมชาติ ยังแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

1 สาธารณภัยเชิงอุตุนิยมวิทยา เช่น วาตภัย อากาศหนาวผิดปกติ คลื่นความร้อน ความแห้งแล้งผิดปกติ

2.สาธารณภัยตามสภาพภูมิประเทศ เช่น อุทกภัย หิมะถล่ม

3.สาธารณภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก เช่น สึนามิ แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหว

4.สาธารณภัยทางชีวภาพ มีสาเหตุจากสิ่งมีชีวิต เช่น การระบาดของโรค ภัยจากฝูงสัตว์และแมลง

ข.สาธารณภัยที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้น โดยเกิดจากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ทำขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย สุขสบายหรือเพื่อประหัตประหารกัน ได้แก่

1.ภัยจากการจราจร ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

2.ภัยจากการประกอบอาชีพ

3.ภัยจากความไม่สงบของประเทศ

4.ภัยจากไฟฟ้า อัคคีภัย

5.ภัยจากวัตถุอันตราย

6.ภัยจากความเจริญทางเทคโนโลยี

บางชนิดของสาธารณภัยอาจเป็นได้ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย ไฟไหม้ป่า อุทกภัย และการระบาดของโรค

 

2. การแบ่งตามสถานการณ์ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ

2.1 สาธารณภัยตามภาวะปกติ เช่น สาธารณภัยเชิงอุตุนิยมวิทยา

2.2 สาธารณภัยตามสภาวะฉุกเฉิน เช่น สาธารณภัยตามสภาพภูมิประเทศ สาธารณภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก สาธารณภัยทางชีวภาพและสาธารณภัยที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้น

2.3 สาธารณภัยในภาวะสงคราม เช่น โรคระบาด(ในภาวะสงคราม) การขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังพินาศขาดแคลนที่อยู่อาศัย

 

3.การแบ่งตามลำดับการเกิด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

3.1 ภัยอันดับแรก (Primary Hazard)  หรือภัยหลัก

3.2 ภัยสืบเนื่องจากภัยอันดับแรก (Secondary Hazard) หรือภัยรอง เมื่อภัยอันดับแรกมีระดับความรุนแรงสูง ก็มักจะก่อให้เกิดภัยสืบเนื่องตามมาเมื่อแผ่นดินไหวมีความรุนแรงมากก็จะทำให้เกิดภัยอาคารถล่มและเพลิงไหม้   เมื่อนำ้ท่วมมักมีภัยโรคระบาดตามมา(ทั้งคน ทั้งสัตว์เลี้ยง) ภัยแล้งขาดน้ำอุณหภูมิสูงก็มักจะตามมาด้วยไฟป่าขึ้น เป็นต้น

Search