พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายในการขับขี่
และหากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หากผู้ขับขี่ให้ผู้โดยสารโดยไม่สวมหมวกนิรภัย ผู้ขับขี่จะถูกปรับเป็น 2 เท่าของโทษที่กำหนด เด็กๆก็เป็นไปตามข้อบังคับนี้นะครับ
สถานการณ์ปัจจุบัน ในปี 2559 มีอัตราการสวมหมวกนิรภัยเพีง ร้อยละ 35 ทั้งนี้ ปัญหาการไม่สวมหมวกนิรภัย จะต้องได้รับการแก้ไขในวัฒนธรรม 3 ส่วน คือ
1.วัฒนธรรมชาวบ้าน โดยมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และการให้ความหมายต่อความเสี่ยงอุบัติเหตุ เช่น วัฒนธรรมวัยรุ่น วัฒนธรรมคนขับรถบรรทุก วัฒนธรรมชาติพันธุ์ เป็นต้น
2. วัฒนธรรมองค์กร
3.วัฒนธรรมผู้เชี่ยวชาญ/นักวิชาการ
โดยที่ ข้อ 2 และข้อ 3 มีอิทธิพลในการกำกับแบบแผนวิธีคิด วิถีปฏิบัติ กระบวนการสร้างความรู้ รูปแบบการทำงานรณรงค์ การให้สุขศึกษา
ปัญหาการสวมหมวกนิรภัย อาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้ผ่านสมการตัวเลขสถิติอย่างเป็นวัตถุวิสัย
การแสดงออกที่ไม่สวมหมวกนิรภัย มีปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมเป็นฐาน และมีมุมมองต่ออิทธิพลทางวัฒนธรรม อารมณ์ สุนทรียะ จริยศาสตร์ ศีลธรรม และกฏเกณฑ์ทางสังคม
อันเป็นความจริงที่วัดไม่ได้ แต่อธิบายได้
แต่ปัจจุบัน มัวติดกับดักอยู่กับตัวเลข หาได้เพิ่มองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมแต่อย่างใด เศร้าใจจัง