วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความหมาย สังคมนิรภัย หมายถึง  ผู้คนในขอบเขตหนึ่งยอมรับเรื่อง social mobility เพื่อความยั่งยืนคนส่วนใหญ่  โดยจะไม่มี hierarchy ไม่มีระดับชั้นมากนัก ไม่มีระบบกฎหมายที่หยุมหยิมและเคร่งครัดเกินไป

การแบ่งกลุ่มของสังคมนิรภัย สังคมนิรภัย แบ่งได้ เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1) กลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านนิรภัย

2) กลุ่มที่ให้การสนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสังคมนิรภัย

3) หน่วยงาน/องค์กรที่ดูแลให้สังคมนิรภัยมีขึ้นอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การแบ่งกลุ่มก็เพื่อสามารถให้การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประหยัดทรัพยากรมากที่สุด เพราะการมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน  นำความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมาออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ สร้างระบบการรับฟังเสียง/ความต้องการ/ข้อร้องเรียน  จัดสร้างระบบความสัมพันธ์  การจำแนกแบ่งกลุ่ม เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้น 3 ประการ คือ

1.มีความรู้สึกเดียวกันเช่น กลัวอุทกภัยที่จะประสบ กลัวภัยแล้งที่จะเผชิญ  กลัวไม่ปลอดภัยในประเด็นร่วมกัน

2.มีการปะทะสังสรรค์ทางสังคม

3.มีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยง

การจะรียกว่ากลุ่มสังคมนิรภัยจะต้องมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้น อย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อดังกล่าวข้างต้น

เป้าหมายของสังคมนิรภัย

1.สร้างสรรค์ความสัมพันธ์เพื่อความยั่งยืนของมวลมนุษย์

2.สร้างสรรค์วิทยาการของมวลมนุษย์เพื่อลดความเสี่ยงสาธารณภัย


———————————–666666666666——————————————–