งานประชาสัมพันธ์ในการบริหารจัดการสาธารณภัยเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ยิ่งหย่อนกว่างานด้านอื่นๆ เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์ อยู่ในส่วนงานการเตรียมความพร้อมงานเผชิญเหตุ และการฟื้นฟู
1. หลักการที่จะต้องยึดถือ คือ การสร้างความเข้าใจตรงกันในความเปลี่ยนแปลงที่ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น ทั้งสภาพทางกายภาพที่เป็นจริงและความอ่อนไหวทางสังคมหรือความต้องการของสังคมที่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการกระทำหรือลดผลกระทบจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ
2. จุดมุ่งหมายหลัก คือ ทิศทางเดียวกันทั้งทัศนคติ การกระทำ(one vioce) เพื่อให้เกิดภาพการร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน
3. เครื่องมือที่ใช้ต้องทันสมัย(ด้านทัศนคติ) และทันเหตุการณ์(ด้านการกระทำ) ได้แก่
4. กระบวนการ มี ดังนี้
4.1 การบ่งชี้ความของต้องการ(สังคม) หรือกำหนดวิสัยทัศน์(องค์การ)
4.2 การวิเคราะห์ให้รู้เขารู้เราหรือการวิเคราะห์ swot analysis
4.3 กำหนดเป้าหมายหรือบอกความต้องการ
4.4 การแจ้ง/การสื่อสารระหว่างกลุ่ม
4.5 การสร้างเครือข่าย เพื่อการรับส่ง-สื่อสารกันรวดเร็วขึ้น รับทราบผลสะท้อนกลับได้อย่างครอบคลุม
——————————————–