การพัฒนาสังคมนิรภัยให้เกิดขึ้นในประเทศ ส่วนหนึ่งที่จะเป็นกลไกสนับสนุน คือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีการรับรู้ มีความเข้าใจ มีความตระหนัก
แต่ไม่ใช่จะต้องใส่เนื้อหาภัยพิบัติในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ (ระบบการศึกษาไทยปรับปรุงเนื้อหาใหม่ มาหลายปีแล้ว แต่เด็กไทยคงโง่ลงเยอะ เพราะหลงประเด็น กลายๆ ว่า เด็กเป็นศูนย์กลางโดยอยากรู้อยากเรียนอะไร ครูก็ไปท่องจำมาบอกอยู่เหมือนเดิม (คงให้เหมาะสมกับวิทยะฐานะ เงินเดือน เงินงบบริหารจัดการ))
แต่อยากเห็นนักการศึกษา สอนให้เด็กและเยาวชน เมื่อ่พบกับหรือรับรู้กับข้อเท็จจริงที่เป็นภัยพิบัติ เขาเหล่านั้นจะมีความคิด มีแนวทาง มีทางออกที่จะขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ หากเขาได้ผ่านระบบการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ที่ไม่ใช่ตามที่กล่าวข้างต้น
ดังนั้น สังคมนิรภัยไม่น่าจะพัฒนาได้เต็มที่ในเมืองไทยในเร็ววันนี้ เนื่องจาก เมืองไทยปฏิรูปการศึกษาเฉพาะโครงสร้าง เฉพาะการจัดการศึกษา เงินงบประมาณ ปีละกว่าสองแสนล้านบาท มากที่สุดในแต่ละฟังก์ชั่น มีการปรับตัวช้ามากในการตอบสนองต่อความต้องการทักษะ ความเชี่ยวชาญของสังคม ประเทศชาติ
อีกทั้งในหลายประเทศที่เจริญแล้ว ที่มีแรงผลักดันสูงยิ่ง เช่น ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ยังไม่สามารถรับการสนับสนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังไม่นำส่วนที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติเข้าไปไปต้นทุนในการผลิต อย่างน้อยก็ขุดบ่อน้ำไว้ใช้เองบ้างก็ยังดี
แล้วสังคมนิรภัยใครจะใส่ใจ ก็แค่มองผ่านหรือไม่ก็เพียงเงื่อนไขในจุดมุ่งหมาย ในเป้าประสงค์แอบแฝงอื่นๆ เท่านั้น
————————————-6666666666666666666—————————————–