วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ซึ่งจากการทบทวนการปฏิบัติงานในอดีต พบว่า ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานที่ทำให้ไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนดังกล่าว เกิดจากปัจจัยสำคัญ ดังนี้

๑. ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ ให้บริการอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว สามารถเข้าถึงผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างทันสถานการณ์ความต้องการการรักษาและฟื้นฟู   อย่างถูกวิธี

๒. ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้ใช้รถใช้ถนนตื่นตัว และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยมากขึ้น  ซึ่งเห็นได้จากสถิติการดำเนินคดีด้านจราจรลดลงจากช่วงเทศกาลที่ผ่านมา และลักษณะการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการประสบอุบัติเหตุทางถนนลดลง

๓. มีการประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มประชาชนในพื้นที่จังหวัดได้รับรู้รับทราบอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เช่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าว การรณรงค์แจกแผ่นพับแจกเอกสาร

ดังนั้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ถึงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ จังหวัดจะยังคงรักษาแนวทางการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลดังกล่าวต่อไปอย่างเข้มแข็ง และจะมีดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ดังนี้

๑.วัตถุประสงค์หลัก

๑.๑ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลักที่จะเกิดอุบัติเหตุทางถนน

๑.๒ อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความสุข ความสะดวกสบายและมีความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน  ตามคำขวัญการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน “สุขกาย สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย รับปีใหม่ ๒๕๕๙”

๒.แนวทางการดำเนินการ

๒.๑ เน้นการดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวให้มากที่สุด โดยเฉพาะจุดบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว  เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว จุดที่มีการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

๒.๒ เน้นให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ๆ เช่น ขับรถเร็ว เมาแล้วขับขี่ การฝ่าฝืนสัณญาณไฟจราจร การแซงในที่คับขัน ไม่เน้นการตรวจป้องปราม จับปรับดำเนินคดีกับประชาชนที่เดินทางทั่ว ๆ ไป

๒.๓ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนได้จัดให้มีช่องทางที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นรูปธรรม

๒.๔ สนับสนุนให้ชุมชนหมู่บ้านได้ดำเนินกิจกรรม ๒ กิจกรรม คือ

๑)การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและทุกรูปแบบ เช่น การจัดทำป้ายเตือน จัดทำประชาคม จัดทำจุดเตือนใจ และการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย หอกระจายข่าว เป็นต้น

๒)การจัดตั้งด่านชุมชน เพื่อควบคุมกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางถนน

๓. กิจกรรมเน้นหนัก

1.การรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง

1) ขอความร่วมมือสื่อทุกช่องทางเผยแพร่กระตุ้นจิตสำนึกความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะทางสถานีวิทยุทุกแห่ง

2) ทุกหน่วยงาน องค์กรธุรกิจ ภาคเอกชนทุกกลุ่มอาชีพ สนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัด ลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางถนน

๓) การประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

2.สำรวจและประเมินความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข/ป้องกัน/ควบคุม ปัจจัยที่คาดว่าจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ตลอดระยะห้วงดำเนินการรณรงค์

1)  จุดเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางถนนขึ้นได้

2)  เส้นทางที่ใช้ความเร็วสูง

๓)พื้นที่หรือชุมชนที่จัดงานรื่นเริง

๔) กลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่

๕) ความสะดวกสบายในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว

๖) การควบคุมเวลาเปิด-ปิดสถานบันเทิง

๓. การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เคร่งครัดในกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหลักๆ โดยมีการจัดตั้งจุดตรวจเพื่อบังคับใช้กฎหมาย จำนวน ๒๖ จุด

โดยเน้นการตรวจจับปรับ ดำเนินคดี กรณี ดังต่อไปนี้

๑) เมาสุรา  ๒) ความเร็วเกินกำหนด  ๓) ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร  ๔) ขับรถย้อนศร ๕) แซงในที่คับขัน  ๖) ใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่ขณะขับรถ

๔. คุมเข้มการเข้าถึงและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะ

1) ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนสอดส่องการจำหน่ายและการดื่มสุราในสถานที่ห้ามขาย ห้ามดื่ม อีกทั้ง การขายตามเวลาที่กฏหมายกำหนด และไม่ขายให้แก่เด็กและเยาวชน

2) จัดชุดเจ้าหน้าที่เคลื่อนที่เร็ว ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ และชุดเคลื่อนที่เร็วตรวจจับดำเนินดคีเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

๕. แก้ไขจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ

๑) จุดเสี่ยงจากสถิติในห้วงที่ผ่านมา จะเพิ่มคุณลักษณะทางวิศวกรรมจราจรชั่วคราวให้มีความปลอดภัย เช่น วางกรวย  ติดตั้งแสงสว่าง แผงกั้น

๒) ในจุดที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นใหม่ จะเพิ่มคุณลักษณะทางวิศวกรรมจราจรชั่วคราวให้มีความปลอดภัย และติดตั้งป้ายเตือนชั่วคราวทันที

๖.พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป และผู้ใช้รถใช้ถนนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยหากพบเห็นอุบัติเหตุทางถนน ให้รีบโทรแจ้งโทรศัพท์สายด่วน ๑๖๖๙ ในทันที