วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความถี่ภัยพิบัติ มีนักวิชาการสังเกตุการณ์แล้วพบว่า แปลกใหม่ขึ้น” เช่น ประเทศไทยไม่เคยคิดว่าจะเกิดสึนามิ แต่ก็เกิด หรือพม่าไม่เคยคิดว่าจะเกิดพายุไซโคลน แต่ก็ได้เจอ หรือขณะนี้ฤดูฝนได้เริ่มตั้งแต่ปลายฤดูร้อน และขยายเวลาเข้ามาถึงฤดูหนาว ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนเชื่อว่าวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี คือวันสิ้นสุดฤดูฝน แต่ปี พ.ศ.2555 เข้าเดือนธันวาคมแล้ว ฝนก็ยังตกอย่างต่อเนื่อง

เข้มข้นขึ้น” จะเริ่มเห็นได้จากการเกิดพายุ ในอดีตศูนย์กลางของพายุที่เกิดในประเทศไทย โดยทั่วไปมีศูนย์กลางความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง แต่จากนี้ไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-80 กม.ต่อชั่วโมง หรืออย่างพายุเฮอริเคนแคทรีน่าและแซนดี้ ที่มีศูนย์กลางความเร็ว 150-160 กม.ต่อชั่วโมง ต่อไปอาจขึ้นไปถึง 200 กม.ต่อชั่วโมง

ถี่ขึ้น” คือ สิ่งที่เคยเกิดเป็นวัฏจักร ต่อไปนี้จะไม่สามารถคาดการณ์ได้อีก

เมื่อก่อนน้ำท่วมกรุงเทพฯ เคยถูกคาดการณ์เป็นวัฏจักรที่จะเกิดขึ้นในรอบ 12 ปี หรือ 10 ปี แต่ขณะนี้ไม่ใช่ น้ำท่วมเกิดขึ้นปีต่อปี ไม่มีวัฏจักรทิ้งช่วงอีกต่อไป แผ่นดินไหวก็เช่นกัน เมื่อปี ค.ศ.2004 เกิดสึนามิจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ต่อมาในปี ค.ศ.2011 เกิดเหตุขึ้นที่เดิมอีก แต่ทิ้งระยะห่างเพียง 6-7 ปี เท่านั้น ทั้งๆ ที่ตามหลักวิชาการระบุว่า การขยับตัวของแผ่นดินจะคลายและนำเอาพลังงานใต้พื้นดินออกไป ซึ่งกว่าจะสะสมพลังงานขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลาหลาย 10 ปี ถึง 100 ปี

นอกจากนี้ จะเกิดดินถล่มถี่ขึ้น เป็นผลจากปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นและสะสมบนภูเขา ส่วนน้ำแข็งในขั้วโลกจะละลายมากขึ้นในอัตราที่เร็วและรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตามไหล่ทวีปต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงตามชั้นธรณีวิทยา เพราะน้ำทะเลจะล้นฝั่งกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลให้ไหล่ทวีปเกิดการทรุดตัวอย่างมหาศาล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีพื้นที่ต่ำมาก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียงฟุตกว่าๆ ทั่วโลกพื้นที่ที่เคยเกิดฝนตกหนัก จะเจอฝนที่หนักขึ้น พื้นที่ใดแห้งแล้งก็จะยิ่งแล้งกว่าเดิม

ส่วนกระแสน้ำอุ่นอย่าง “เอลนีโญ” และ “ลานีญา” ที่เป็นตัวชี้วัดปริมาณน้ำฝน จะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าปีหน้าจะน้ำมากหรือน้ำน้อย

———–8888888888————–